วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๑
                                   ๑๓ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๓
                              ปกิณกะวินัย


          วินัยและการรักษาวินัย


          ๑. มติ ก.พ., มติ ครม. และความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา
              (๑) เกี่ยวกับวินัย
                    ๑) ที่มีอยู่แล้ว
                    ๒) จะมีในอนาคต
              (๒) ให้นำมาใช้กับข้าราชการส่วนท้องถิ่นด้วย

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.ที่ มท ๐๓๑๓.๓/ว ๘๘๙ ลง ๓๐ ส.ค.๒๕๔๕
          หมายเหตุ
          เว้นแต่ในเรื่องเดียวกันนั้น ก.กลาง ได้กำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก


          ๒. หลักการพิจารณาความผิด "ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ"
               (๑) ต้องมีพยานหลักฐานชัดเจนพอสมควร ว่า
                     ๑) มีหน้าที่ราชการ
                     ๒) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นโดยมิชอบ
                     ๓) เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
                     ๔) มีเจตนา
               (๒) โดยความมีเถยจิตหรือเจตนาทุจริตต่อหน้าที่ราชการ อันถือเป็นเจตนาพิเศษ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๖๘๖ ลง ๑๓ ก.ค.๒๕๓๗                       
          หมายเหตุ
          ถ้าไม่มีพยานหลักฐานชัดเจนพอสมควร ไม่ควรลงโทษฐานนี้ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบ


          ๓. ปลอมแปลงลายมือชื่อเพื่อนข้าราชการหาประโยชน์ ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นร ๐๒๐๓/ว ๒๒ ลง ๒๒ ก.พ.๒๕๓๒


          ๔. ข้าราชการทุจริตในการสอบขณะรับข้าราชการ
               (๑) เป็นความผิดทางวินัย
               (๒) ต้องกำชับผู้บังคับบัญชา
               (๓) ให้ลงโทษทางวินัยสถานหนัก

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๔๐๑/ว ๕๐ ลง ๑๒ เม.ย.๒๕๑๑


          ๕. เบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทาง และเงินอื่นในทำนองเดียวกันเป็นเท็จ
              (๑) เป็นความผิดทางวินัย
              (๒) ให้พิจารณารายละเอียดเป็นราย ๆ ไป
              (๓) ถ้าเจตนาทุจริตฉ้อโกงแน่ชัด (ไม่มีหน้าที่ทำเบิก แต่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต) ผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
              (๔) ต้องลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง (ปลดออก/ไล่ออก)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน กพ.ที่ นร  ๐๗๐๙.๒/ว ๘ ลง ๒๖ ก.ค.๒๕๓๖


          ๖. ปฏิบัติงานล่าช้า เป็นความผิดทางวินัย ถ้า
               (๑) งานคั่งค้าง หรือล่าช้า
               (๒) อันเนื่องมาจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
               (๓) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
               (๔) ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษตามควรแก่กรณี

          ที่มา : หนังสือกรมเลขาธิการ ครม.ที่ นว ๒๙๓/๒๔๙๕ ลง ๒๗ พ.ย. ๒๔๙๕


          ๗. ใช้เวลาราชการไปหาความสำราญส่วนตัว
               (๑) เป็นเหตุให้งานในหน้าที่คั่งค้าง
               (๒) นับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
               (๓) ควรพิจารณาโทษสถานหนัก (ปลด/ไล่)
               (๔) เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง

          ที่มา : หนังสือกรมสารบัญ ครม.ที่ นว ๒๖๔/๒๔๙๘ ลง ๑๕ ธ.ค.๒๔๙๘


          ๘. ใช้เวลาราชการไปประกอบอาชีพส่วนตัว   
               (๑) เป็นความผิดทางวินัย
               (๒) ให้ผู้บังคับบัญชากวดขันในเรื่องนี้

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๓๗ ลง ๑ มี.ค.๒๕๒๑


          ๙. อยู่เวรรักษาสถานที่ราชการ แล้วละทิ้งหน้าที่เวร
              (๑) เป็นความผิดทางวินัย
              (๒) ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษให้เหมาะสมกับความผิด

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นร ๐๒๐๑/ว ๑๐๓ ลง ๔ มิ.ย.๒๕๒๘
          หมายเหตุ
          หากทิ้งหน้าที่เวรและเกิดอัคคีภัยผิดทั้งวินัยร้ายแรงและอาญา
          ที่มา : หนังสือกรมเลขาธิการ ครม.ด่วนมาก ที่ นว ๑๐๑/ว ๒๔๙๕ ลง ๑๘ เม.ย.๒๔๙๕                   


          ๑๐. ไม่มาปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ในวันหยุดราชการซึ่งเป็นหน้าที่ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย โดยไม่มีเหตุอันสมควร ผิดวินัยฐาน
              (๑) ขัดคำสั่งผู้บังคีบบัญชา
              (๒) ละทิ้งหน้าที่ราชการ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๓๗๐ ลง ๒๑ มิ.ย.๒๕๓๘.


          ๑๑. การอยู่เวรรักษาสถานที่ราชการของสตรี ต้องจัดให้อยู่เฉพาะกลางวัน เว้นแต่ผู้มีหน้าที่โดยเฉพาะที่จะต้องปฏิบัติงานในเวลากลางคืนเท่านั้น เช่น แพทย์ พยาบาล เป็นต้น

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ว ๘ ลง ๒๖ ก.ค.๒๕๓๖.


          ๑๒. การอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ หมายถึง การอุทิศหรือสละเวลาทั้งหมดปฏิบัติราชการตามที่ทางราชการต้องการ รวมถึงเวลานอกเหนือจากเวลาปฏิบัติราชการตามปกติในกรณีราชการมีงานเร่งด่วนจำเป็นด้วย (การรักษาวินัย ข้อ ๑๗)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๕๘๐ ลง ๔ ก.ค.๒๕๔๐.
 

          ๑๓. ความแตกต่างระหว่าง "ละทิ้ง" กับ "ทอดทิ้ง" คือ
          "ละทิ้ง" ตัวไม่อยู่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ จะลงชื่อหรือไม่ก็ตาม
          "ทอดทิ้ง" ไม่เอาเป็นธุระ ไม่เอาใจใส่ ตัวอยู่แต่ไม่ทำงาน (การรักษาวินัย ข้อ ๑๗)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๒๒๙ ลง ๑๐ พ.ค.๒๕๓๗.


          ๑๔. จะถือว่าขาดราชการ ต้องเป็นกรณีไม่มาทำงานตั้งแต่ครึ่งวันขึ้นไป (ไม่ถึงครึ่งว้นขึ้นไป ถือว่า "มาสาย")

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๗๓๗ ลง ๑๙ ต.ค.๒๕๓๘.     


          ๑๕. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วัน (พนักงานจ้าง/ลูกจ้าง ๗ วัน) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
              (๑) ไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย ให้ลงโทษไล่ออกย้อนหลังไปถึงวัน (เริ่ม) ขาดราชการ
              (๒) กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีก ลงโทษปลด/ไล่ออกก็ได้ (พิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป) แต่ต้องไม่ย้อนหลัง
              (๓) ทั้งสองกรณีให้นับวันหยุดราชการ (ตรงกลาง) รวมด้วย

          ที่มา :
          ๑. หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นร ๐๒๐๕/ว ๒๓๔ ลง ๒๔ ธ.ค.๒๕๓๖ (ฉบับเดียวกับกรณี "ทุจริต")
          ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๑๐๐๐ ลง ๒๙ พ.ย.๒๕๓๗.


          ๑๖. การให้ถ้อยคำในการสอบสวนอันเป็นเท็จทั้งในฐานะผู้ถูกกล่าวหาหรือพยาน (หลายครั้งไม่ตรงกัน กลับไปกลับมา) ถือเป็นความผิดทางวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยตามควรแก่กรณี

          ที่มา : สำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๖๑๒/ว ๑ ลง ๒๔ ม.ค.๒๕๒๙.


          ๑๗. การไว้ผมและแต่งกายของข้าราชการ
                 (๑) ชายไม่ให้ไว้ผมยาวปิดตีนผม
                 (๒) หญิงห้ามนุ่งกระโปรงสั้นเหนือเข่า
                 (๓) ชายหญิงไม่ให้คาดเข็มขัดเหนือสะดือ
                 (หากฝ่าฝืนเป็นความผิดทางวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบธรรมเนียมของทางราชการ)

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๕๕ ลง ๘ มิ.ย.๒๕๑๖.


         ๑๘. ไม่ส่งมอบงานในหน้าที่ เมื่อพ้นจากตำแหน่ง อาจเป็นความผิดทางวินัยได้ เช่น
                 (๑) ออกจากราชการทุกกรณี เว้นแต่ตาย
                 (๒) พ้นจากตำแหน่งเดิม
                 (๓) พักราชการ
                 (๔) ไปรักษาการตำแหน่งอื่นที่ว่าง

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๓๖ ลง ๑๓ ก.พ.๒๕๒๔.


          ๑๙. ให้เลิกใช้บริการทางเพศ ระหว่างไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัด ทั้ง
                 (๑) ข้าราชการส่วนกลาง
                 (๒) ข้าราชการส่วนภูมิภาค
                 (๓) ข้าราชการส่วนท้องถิ่น

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๒๙ ลง ๑๙ ก.พ. ๒๕๒๘.


          ๒๐. การเสพสุราที่ถือเป็นความผิดวินัยฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เช่น
                (๑) เสพสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                (๒) เมาสุราเสียราชการ
                (๓) เมาสุราในที่ชุมชนจนเกิดเรื่องเสียหาย หรือเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ

           ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นว ๒๐๘/๒๔๙๖ ลง ๑ ก.ย.๒๔๙๖.
               
                                                       
                                       สวัสดี
 
----------
          ๑. กรมการปกครอง, คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อาสารักษาดินแดน), ๒๕๔๕.
          ๒. สำนักงาน ก.พ., ตอบข้อหารือเกี่ยวกับวินัยข้าราชการพลเรือน, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๔๐.
          ๓. สำนักงาน ก.พ., รวมมติ ครม. มติ ก.พ.ที่เกี่ยวกับวินัย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๕๒.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑                                    ๒๐ ก.ย. ๒๕๖๑                                       ...