วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑
                                   ๒๐ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๓
                           ปกิณกะวินัย (ต่อ)


          อื่น ๆ (ต่อ)


          ๔. วันที่ถือว่า "พ้นจากตำแหน่งเดิม" คือ ตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่ง แม้จะยังมิได้
               (๑) มอบหมายการงาน หรือ
               (๒) ถูกส่งตัวไปก็ตาม
               ผู้บังคับบัญชาเดิมไม่มีอำนาจดำเนินการทางวินัย หากมีการสั่งลงโทษ ต้องยกเลิกคำสั่งนั้นเสีย

          ที่มา : ๑. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๖๒๑ ลง ๒๘ มิ.ย.๒๕๓๖
                   ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๓๑๙ ลง ๑๘ ต.ค.๒๕๓๗.


          ๕. ข้าราชการต้องหาคดีอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ผู้บังคับบัญชาต้องรีบดำเนินการทางวินัยไปพร้อมกันด้วย

          ที่มา : ๑. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ลับ ที่ ๑๓๓๓๓/๒๔๙๘ ลง ๘ ก.ค.๒๔๙๘
                    ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร ๐๙๐๕/ว ๔ ลง ๑๘ มี.ค.๒๕๐๙
                    ๓. หนังสือสำนักงาน ก.อบต.ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๗๔๐ ลง ๑๑ พ.ค.๒๕๔๗
                    ๔. หนังสือสำนักงาน ก.อบต.ที่ มท ๐๘๐๙.๖/๗๐๒๙ ลง ๑๗ พ.ย.๒๕๕๑.


         ๖. การดำเนินการทางวินัยและการดำเนินคดีอาญา กฎหมายกำหนดเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากกัน การดำเนินการทางวินัยไม่จำต้องรอผลทางคดีอาญาแต่อย่างใด เมื่อกรณีหรือคดีถึงที่สุดผลอาจต่างกันได้ เพราะการรับฟังพยานหลักฐานอาจต่างกัน  แม้ศาลจะเห็นต่างผู้บังคับบัญชาก็หาต้องรับผิดไม่ ถ้าลงโทษไปโดยสุจริต

          ที่มา : คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๓๗๐/๒๕๕๐.


          ๗. หากการสอบสวนทางวินัยยังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิด สมควรรอการสั่งการเด็ดขาดทางวินัยไว้ก่อนจนกว่าจะทราบผลทางคดีอาญา

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร ๐๙๐๕/ว ๙ ลง ๖ ต.ค.๒๕๐๙.


          ๘. กรณีมีเหตุสงสัยว่าข้าราชการในสังกัดกระทำการทุจริต ให้ผู้บังคับบัญชาสอบสวนข้อเท็จจริงให้ประจักษ์เสียก่อนทุกคราว ก่อนแจ้งความหรือมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป

          ที่มา : หนังสือกรมเลขาธิการ ครม.ที่ นว ๑๖/๒๔๘๖ ลง ๒๓ ม.ค. ๒๔๘๖.


          ๙. เจตนารมณ์ในการสอบสวนทางวินัย คือ ให้คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้บังคับบัญชาสอบสวนจนสิ้นกระบวนการ ไม่ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาสั่งยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือระงับการสอบสวนที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายได้ หากปรากฏว่าคุณสมบัติของกรรมการสอบสวนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ผู้สั่งแต่งตั้งก็ชอบที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้ครบถ้วนถูกต้องได้

           ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๑/ล ๒๔ ลง ๓๑ ม.ค.๒๕๔๓.


           ๑๐. แนวคิดของการตั้งกรรมการสอบสวน คือ กรรมการสอบสวนต้องเป็นข้าราชการประจำ มีอย่างน้อย ๓ คน เพราะต้องการให้กระทำโดยคณะบุคคล ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่สอบสวน เพื่อเป็นการคานอำนาจของผู้บังคับบัญชา

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๑/๑๑๓ ลง ๑๐ เม.ย.๒๕๔๔.


          ๑๑. การที่จะถือว่ามีการดำเนินการทางวินัยแล้ว ให้พิจารณาจาก
                 (๑) ต้องตั้งเรื่องกล่าวหาโดยแจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าเขาตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยแล้ว
                 (๒) ให้โอกาสชี้แจงเหตุผลแก้ข้อกล่าวหาด้วย
                 (๓) ผลเป็นประการใดก็ตาม ถือว่ามีการดำเนินการทางวินัยตามกระบวนการของกฎหมายแล้ว

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ ๐๗๐๙.๒/ป ๑๑๑๘ ลง ๒๙ พ.ย.๒๕๓๗.


          ๑๒. การดำเนินการทางวินัยกรณีเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งกรรมการสอบสวนไว้แล้ว จะออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนในเรื่องนั้นอีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำนินการทางวินัยซ้ำ ต้องยกเลิกคำสั่งหลัง (ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๔๗ ลง ๑๙ ก.พ.๒๕๓๖.


          ๑๓. การพิจารณาว่าดำเนินการทางวินัยซ้ำหรือไม่ ให้ยึดถือหลักเจตนาของผู้กระทำและข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โดย
                (๑) หากเป็นเรื่องกล่าวหาที่มีการกระทำหลายครั้งแต่มีเจตนาเดียวต่อเนื่องกัน
                (๒) ต้องถือว่าการกระทำทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ในเรื่องเดียวกัน
                (๓) เมื่อมีการดำเนินการทางวินัยกับผู้กระทำผิดไปแล้ว จะดำเนินการทางวินัยในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๑/ล ๙๐ ลง ๑๔ ก.พ.๒๕๔๕.


          ๑๔. ข้าราชการต่างสังกัดกระทำผิดร่วมกัน ให้แต่ละสังกัดปรึกษาหารือในการสอบสวนพิจารณาโทษให้ได้ระดับเดียวกัน โดยให้แต่ละสังกัดแต่งตั้งกรรมการสอบสวนประกอบด้วยตัวบุคคลชุดเดียวกันเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ข้อเท็จจริงปรากฏไปในทางเดียวกัน

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นว ๓/๒๔๙๔ ลง ๒๙ ม.ค.๒๔๙๔.


          ๑๕. สำนวนการสอบสวนทางวินัยที่เสร็จเด็ดขาดแล้ว ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี เพื่อประโยชน์ของทางราชการ เช่น
                 (๑) ใช้อ้างในทางอรรถคดี
                 (๒) พิจารณายกเว้นคุณสมบัติเกี่ยวกับความประพฤติ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร ๐๙๐๖/ว ๖ ลง ๘ มิ.ย.๒๕๑๔.


          ๑๖. สำนวนการสอบสวนทางวินัยสูญหายโดยที่ผู้มีอำนาจยังมิได้วินิจฉัยสั่งการให้เสร็จไป
                 (๑) ถ้าไม่มี
                       ๑) สำเนาสำนวนการสอบสวน หรือ
                       ๒) สำเนารายงานการสอบสวน หรือ
                       ๓) เอกสารใด ๆ ที่จะยืนยันได้ว่าสำนวนการสอบสวนที่สูญหายไปนั้นมีพยานหลักฐานอย่างไรบ้างพอที่จะวินิจฉัยได้อยู่เลย
                 (๒) ควร
                       ๑) ให้คณะกรรมการทำการสอบสวนใหม่ หรือ
                       ๒) แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนใหม่
                            และพิจารณาให้เสร็จสิ้นไป

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร ๑๐๐๖/๑๔๐๐๗๔ ลง ๒๙ ต.ค.๒๕๑๙.     


          ๑๗.   ถูกจำคุกขณะรับราชการ แม้พฤติกรรมนั้นถูกลงโทษเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรงไปแล้ว ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงอีกครั้ง เพราะ
                    (๑) เป็นความผิดฐานกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
                    (๒) ไม่ได้ตั้งฐานจากการกระทำเดิมของผู้กระทำผิดซึ่งได้รับการล้างมลทิน แต่เป็นความผิดใหม่
                    (๓) ไม่เป็นการลงโทษทางวินัยซ้ำ เพราะเป็นความผิดคนละฐานกับฐานความผิดที่ถูกดำเนินการทางวินัยไปแล้ว

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๑๐๑๑/ว ๑๓ ลง ๒๓ มิ.ย.๒๕๔๗.


          ๑๘. เงินสมนาคุณกรรมการสอบสวนทางวืนัยเบิกได้เฉพาะการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ในอัตราดังนี้
                (๑) ประชุม/สอบสวนตามปกติ เบิกได้ครั้ง ๒๕๐ บาท
                (๒) ประชุมเพื่อจัดทำ สว.๓ และพิจารณามีมติเพื่อทำ สว.๖ เบิกได้ครั้งละ ๓๐๐ บาท
                (๓) เบิกได้ไม่เกิน ๖๐ วันนับแต่ประชุมครั้งแรก
                (๔) เบิกจากหน่วยงานเจ้าของคำสั่ง

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.อบต., ก.ท. และ ก.จ.ที่ มท ๐๘๐๙.๑/ว ๓๘๑ ลง ๑๙ มี.ค.๒๕๔๖.
                                 
                                                       
                                       สวัสดี
   
----------
          ๑. กรมการปกครอง, คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อาสารักษาดินแดน), ๒๕๔๕.
          ๒. สำนักงาน ก.พ., ตอบข้อหารือเกี่ยวกับวินัยข้าราชการพลเรือน, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๔๐.
          ๓. สำนักงาน ก.พ., รวมมติ ครม. มติ ก.พ.ที่เกี่ยวกับวินัย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๕๒.

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๑
                                   ๑๘ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๓
                           ปกิณกะวินัย (ต่อ)


          วิธีก่อนการดำเนินการทางวินัย


          ๑. ถูกร้องเรียนกล่าวโทษว่ากระทำผิดวินัย
              (๑) ให้ผู้บังคับบัญชาถือเป็นความลับของทางราชการ
              (๒) ให้สืบสวนทางลับว่ามีมูลหรือไม่
                     ๑) ถ้าไม่มีมูลให้ยุติเรื่อง
                     ๒) ถ้ามีมูลอาญา ให้ดำเนินคดีอาญา
                     ๓) ถ้ามีมูลวินัย ให้ดำเนินการทางวินัย
                     ๔) ถ้ามีมูลละเมิด ให้ดำเนินการทางละเมิด
                     ไปพร้อมกันโดยเร็ว
              (๓) ให้คุ้มครองพยาน อย่าให้ต้องรับภัย

          ที่มา : หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท ๐๒๐๘.๓/ว ๒๐๗ ลง ๒๕ ม.ค.๒๕๔๒.


          ๒. อบต. เทศบาล เมืองพัทยา อบจ.ถูกร้องเรียน ให้จังหวัดตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย
               (๑) อบต./เทศบาลตำบล อาจมอบให้อำเภอดำเนินการ
               (๒) เทศบาลเมือง/นคร/เมืองพัทยา/อบจ. จังหวัดดำเนินการเอง

          ที่มา : หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๑๕๔๘ ลง ๙ ส.ค.๒๕๔๘.


          การดำเนินการทางวินัย


          ๑. การตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องที่ สตง.ชี้มูล เป็นการดำเนินการทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแล้ว สตง.สามารถนำผลมาเป็นข้อยุติในเรื่องนี้ได้

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๓๓๘ ลง ๑ ธ.ค.๒๕๓๘.


          ๒. จะถือว่าถูกกล่าวหาไว้ก่อนออกจากราชการ
              (๑) ต้องมีการระบุชื่ออย่างชัดเจน จึงจะดำเนินการทางวินัยได้
              (๒) หากไม่ระบุชื่อจะดำเนินการทางวินัยไม่ได้

          ที่มา : ๑. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๑/๒๖๐ ลง  ๑๔ พ.ย.๒๕๔๔
                   ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๑๔๙๔ ลง ๑๑ พ.ย.๒๕๓๙
                   ๓. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๑๐๑๑/ล ๔๙๕ ลง ๒๗ พ.ค.๒๕๕๑.


          ๓. กรรมการสอบสวนที่มิได้ร่วมสอบ มาลงลายมือชื่อในภายหลังเพื่อให้ครบองค์ประชุม ไม่อาจทำให้การสอบสวนดังกล่าวเป็นการสอบสวนที่ถูกต้องขึ้นมาได้ และถือว่ากรรมการสอบสวนผู้นั้นกระทำผิดวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๑๐๖๖ ลง ๑๕ พ.ย.๒๕๓๗.


          ๔. คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเกินระยะเวลาที่กำหนด โดยมิได้ขอขยายเวลาการสอบสวน ไม่ถือเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรมแต่อย่างใด

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๒๒ ลง ๑๗ ม.ค. ๒๕๓๙.


          ๕. การแจ้ง สว.๒ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เมื่อล่วงพ้น ๑๕ วันนับแต่วันส่ง แม้จะไม่ได้รับ สว.๒ คืน ก็ถือว่าได้รับทราบ สว.๒ แล้ว

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๑๐๖ ลง ๒๒ มี.ค.๒๕๓๙.


          ๖. สว.๒ และ สว.๓ สามารถแจ้งในวันเดียวกันได้ มิได้มีข้อห้ามการแจ้งในวันเดียวกัน

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๑๑๙ ลง ๑๙ มี.ค.๒๕๔๐.


          ๗. การสั่งให้ชะลอการสืบสวน เป็นการสั่งที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของกฎหมาย

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๔๖๘ ลง ๒๑ ส.ค.๒๕๓๘.


          ๘. การเสนอสำนวนการสอบสวน ให้เสนอต่อนายก อปท.โดยตรง

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.อบต.ที่ มท ๐๘๐๙.๖/ว ๑๓๙ ลง ๕ ก.ย.๒๕๔๙.


          การลงโทษทางวินัย


          ๑. การอ้างเหตุลดหย่อนในการสั่งลงโทษทางวินัย ต้องวางระดับโทษที่จะลงไว้ก่อน

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๖๑๑/ว ๓ ลง ๒๕ มี.ค.๒๕๒๘.


          ๒. คำว่าถูกลงโทษทางวินัย หมายถึง การที่ผู้ถูกลงโทษได้รับโทษจริง หรือคำสั่งลงโทษมีผลใช้บังคับ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๕๗ ลง ๔ ก.พ.๒๕๔๐.


          ๓. การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนผู้เกษียณอายุราชการ ต้องสั่งย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ซึ่งเป็นก่อนวันออกจากราชการ (เพียงแสดงการลงโทษให้ปรากฏ)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๓๒๑ ลง ๒๓ ส.ค.๒๕๓๖.


          ๔. การสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับตำแหน่งหรือวุฒิการศึกษา สามารถกระทำได้ แต่มิอาจลงโทษลดขั้นเงินเดือนกรณีรับเงินเดือนในระดับต่ำสุดอยู่แล้ว และไม่มีขั้นเงินเดือนที่ต่ำกว่านั้นอีก

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๑๔๐๖ ลง ๗ ก.ย.๒๕๓๖.


          การรายงานการดำเนินการทางวินัย


          ๑. รองผู้ว่าราชการจังหวัด เคยนั่งประชุมพิจารณาเรื่องใดในชั้นของอนุวินัย หรือในชั้นของอนุอุทธรณ์มาแล้ว ไม่อาจร่วมประชุมและพิจารณาเรื่องนั้นได้อีกในชั้นของ ก.จังหวัด (กรรมการอื่นก็เช่นเดียวกัน)

          ที่มา : คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๒๔๔-๒๔๖/๒๕๕๒.


          ๒. ก.จังหวัดพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแล้วมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง กระบวนการดำเนินการทางวินัย "ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่" เป็นกรณีการดำเนินการทางวินัยได้ผ่านขั้นตอนของความเห็นขัดแย้งไปแล้ว

          ที่มา : เทียบเคียงหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๗๙๐ ลง ๑๐ ก.ย.๒๕๓๘.


          อื่น ๆ


         ๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่ในเรื่องเดิม แต่มิได้ระบุในคำสั่งใหม่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสอบสวน ถือเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๑๐๖๖ ลง ๑๕ พ.ย.๒๕๓๗.


          ๒. ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน  ย่อมไม่มีผลให้ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการตามกฎหมายได้

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๑๗๑ ลง ๑๙ ก.ค.๒๕๓๘.


          ๓. มติ ก.จังหวัดที่เห็นชอบให้ลงโทษ (หรือเพิ่มโทษ) เป็นลดขั้นเงินเดือน ๓ ขั้น (หรือตัดเงินเงิน ๑๐ % เป็นเวลา ๔ เดือน) เป็นมติที่ไม่อาจใช้บังคับได้ (ลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑ ขั้น/ตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕% และเป็นเวลาไม่เกิน ๓ เดือน)

          ที่มา : ๑. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๘๒๗ ลง ๓๑ ส.ค.๒๕๓๖
                   ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๓๗๐ ลง ๒๖ พ.ย.๒๕๓๙.

                                                       
                                       สวัสดี
 
----------
          ๑. กรมการปกครอง, คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อาสารักษาดินแดน), ๒๕๔๕.
          ๒. สำนักงาน ก.พ., ตอบข้อหารือเกี่ยวกับวินัยข้าราชการพลเรือน, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๔๐.
          ๓. สำนักงาน ก.พ., รวมมติ ครม. มติ ก.พ.ที่เกี่ยวกับวินัย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๕๒.

คำถาม ๑๔/๙/๖๑

คำถาม  ๑๔/๙/๖๑
     เรียนถามท่าน ผอ.ครับ
     ผมเป็นพนักงานเทศบาลตำบล ก. ตำแหน่งนักวิเคราะห์ฯ ทราบว่าผมเองถูกร้องเรียนไปที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ๆ ส่งเรื่องให้เทศบาล ก.สอบสวนข้อเท็จจริง ระหว่างนั้นผมโอนมาอยู่เทศบาลตำบล ข. ต่อมาเทศบาล ก.ได้มีหนังสือชี้มูลความผิดผมมายังเทศบาล ข.โดยที่ตัวผมเองไม่เคยถูกเรียกไปสอบสวนใด ๆ ทั้งสิ้น ประเด็นคือ
     1. การสอบสวนข้อเท็จจริงลักษณะดังกล่าวก่อนชี้มูล ทำได้หรือไม่
     2. นายกเทศมนตรี ข.จะสอบข้อเท็จจริงใหม่อีก ได้หรือไม่
     3. นายกเทศมนตรี ข.จะสั่งยุติเรื่อง ได้หรือไม่
     4. ทางออกเรื่องนี้ต้องทำอย่างไร
     กราบขอบพระคุณครับ

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๑
                                   ๑๓ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๓
                              ปกิณกะวินัย


          วินัยและการรักษาวินัย


          ๑. มติ ก.พ., มติ ครม. และความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา
              (๑) เกี่ยวกับวินัย
                    ๑) ที่มีอยู่แล้ว
                    ๒) จะมีในอนาคต
              (๒) ให้นำมาใช้กับข้าราชการส่วนท้องถิ่นด้วย

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.ที่ มท ๐๓๑๓.๓/ว ๘๘๙ ลง ๓๐ ส.ค.๒๕๔๕
          หมายเหตุ
          เว้นแต่ในเรื่องเดียวกันนั้น ก.กลาง ได้กำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก


          ๒. หลักการพิจารณาความผิด "ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ"
               (๑) ต้องมีพยานหลักฐานชัดเจนพอสมควร ว่า
                     ๑) มีหน้าที่ราชการ
                     ๒) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นโดยมิชอบ
                     ๓) เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
                     ๔) มีเจตนา
               (๒) โดยความมีเถยจิตหรือเจตนาทุจริตต่อหน้าที่ราชการ อันถือเป็นเจตนาพิเศษ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๖๘๖ ลง ๑๓ ก.ค.๒๕๓๗                       
          หมายเหตุ
          ถ้าไม่มีพยานหลักฐานชัดเจนพอสมควร ไม่ควรลงโทษฐานนี้ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบ


          ๓. ปลอมแปลงลายมือชื่อเพื่อนข้าราชการหาประโยชน์ ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นร ๐๒๐๓/ว ๒๒ ลง ๒๒ ก.พ.๒๕๓๒


          ๔. ข้าราชการทุจริตในการสอบขณะรับข้าราชการ
               (๑) เป็นความผิดทางวินัย
               (๒) ต้องกำชับผู้บังคับบัญชา
               (๓) ให้ลงโทษทางวินัยสถานหนัก

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๔๐๑/ว ๕๐ ลง ๑๒ เม.ย.๒๕๑๑


          ๕. เบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทาง และเงินอื่นในทำนองเดียวกันเป็นเท็จ
              (๑) เป็นความผิดทางวินัย
              (๒) ให้พิจารณารายละเอียดเป็นราย ๆ ไป
              (๓) ถ้าเจตนาทุจริตฉ้อโกงแน่ชัด (ไม่มีหน้าที่ทำเบิก แต่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต) ผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
              (๔) ต้องลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง (ปลดออก/ไล่ออก)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน กพ.ที่ นร  ๐๗๐๙.๒/ว ๘ ลง ๒๖ ก.ค.๒๕๓๖


          ๖. ปฏิบัติงานล่าช้า เป็นความผิดทางวินัย ถ้า
               (๑) งานคั่งค้าง หรือล่าช้า
               (๒) อันเนื่องมาจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
               (๓) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
               (๔) ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษตามควรแก่กรณี

          ที่มา : หนังสือกรมเลขาธิการ ครม.ที่ นว ๒๙๓/๒๔๙๕ ลง ๒๗ พ.ย. ๒๔๙๕


          ๗. ใช้เวลาราชการไปหาความสำราญส่วนตัว
               (๑) เป็นเหตุให้งานในหน้าที่คั่งค้าง
               (๒) นับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
               (๓) ควรพิจารณาโทษสถานหนัก (ปลด/ไล่)
               (๔) เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง

          ที่มา : หนังสือกรมสารบัญ ครม.ที่ นว ๒๖๔/๒๔๙๘ ลง ๑๕ ธ.ค.๒๔๙๘


          ๘. ใช้เวลาราชการไปประกอบอาชีพส่วนตัว   
               (๑) เป็นความผิดทางวินัย
               (๒) ให้ผู้บังคับบัญชากวดขันในเรื่องนี้

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๓๗ ลง ๑ มี.ค.๒๕๒๑


          ๙. อยู่เวรรักษาสถานที่ราชการ แล้วละทิ้งหน้าที่เวร
              (๑) เป็นความผิดทางวินัย
              (๒) ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษให้เหมาะสมกับความผิด

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นร ๐๒๐๑/ว ๑๐๓ ลง ๔ มิ.ย.๒๕๒๘
          หมายเหตุ
          หากทิ้งหน้าที่เวรและเกิดอัคคีภัยผิดทั้งวินัยร้ายแรงและอาญา
          ที่มา : หนังสือกรมเลขาธิการ ครม.ด่วนมาก ที่ นว ๑๐๑/ว ๒๔๙๕ ลง ๑๘ เม.ย.๒๔๙๕                   


          ๑๐. ไม่มาปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ในวันหยุดราชการซึ่งเป็นหน้าที่ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย โดยไม่มีเหตุอันสมควร ผิดวินัยฐาน
              (๑) ขัดคำสั่งผู้บังคีบบัญชา
              (๒) ละทิ้งหน้าที่ราชการ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๓๗๐ ลง ๒๑ มิ.ย.๒๕๓๘.


          ๑๑. การอยู่เวรรักษาสถานที่ราชการของสตรี ต้องจัดให้อยู่เฉพาะกลางวัน เว้นแต่ผู้มีหน้าที่โดยเฉพาะที่จะต้องปฏิบัติงานในเวลากลางคืนเท่านั้น เช่น แพทย์ พยาบาล เป็นต้น

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ว ๘ ลง ๒๖ ก.ค.๒๕๓๖.


          ๑๒. การอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ หมายถึง การอุทิศหรือสละเวลาทั้งหมดปฏิบัติราชการตามที่ทางราชการต้องการ รวมถึงเวลานอกเหนือจากเวลาปฏิบัติราชการตามปกติในกรณีราชการมีงานเร่งด่วนจำเป็นด้วย (การรักษาวินัย ข้อ ๑๗)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๕๘๐ ลง ๔ ก.ค.๒๕๔๐.
 

          ๑๓. ความแตกต่างระหว่าง "ละทิ้ง" กับ "ทอดทิ้ง" คือ
          "ละทิ้ง" ตัวไม่อยู่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ จะลงชื่อหรือไม่ก็ตาม
          "ทอดทิ้ง" ไม่เอาเป็นธุระ ไม่เอาใจใส่ ตัวอยู่แต่ไม่ทำงาน (การรักษาวินัย ข้อ ๑๗)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๒๒๙ ลง ๑๐ พ.ค.๒๕๓๗.


          ๑๔. จะถือว่าขาดราชการ ต้องเป็นกรณีไม่มาทำงานตั้งแต่ครึ่งวันขึ้นไป (ไม่ถึงครึ่งว้นขึ้นไป ถือว่า "มาสาย")

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๗๓๗ ลง ๑๙ ต.ค.๒๕๓๘.     


          ๑๕. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วัน (พนักงานจ้าง/ลูกจ้าง ๗ วัน) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
              (๑) ไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย ให้ลงโทษไล่ออกย้อนหลังไปถึงวัน (เริ่ม) ขาดราชการ
              (๒) กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีก ลงโทษปลด/ไล่ออกก็ได้ (พิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป) แต่ต้องไม่ย้อนหลัง
              (๓) ทั้งสองกรณีให้นับวันหยุดราชการ (ตรงกลาง) รวมด้วย

          ที่มา :
          ๑. หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นร ๐๒๐๕/ว ๒๓๔ ลง ๒๔ ธ.ค.๒๕๓๖ (ฉบับเดียวกับกรณี "ทุจริต")
          ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๑๐๐๐ ลง ๒๙ พ.ย.๒๕๓๗.


          ๑๖. การให้ถ้อยคำในการสอบสวนอันเป็นเท็จทั้งในฐานะผู้ถูกกล่าวหาหรือพยาน (หลายครั้งไม่ตรงกัน กลับไปกลับมา) ถือเป็นความผิดทางวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยตามควรแก่กรณี

          ที่มา : สำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๖๑๒/ว ๑ ลง ๒๔ ม.ค.๒๕๒๙.


          ๑๗. การไว้ผมและแต่งกายของข้าราชการ
                 (๑) ชายไม่ให้ไว้ผมยาวปิดตีนผม
                 (๒) หญิงห้ามนุ่งกระโปรงสั้นเหนือเข่า
                 (๓) ชายหญิงไม่ให้คาดเข็มขัดเหนือสะดือ
                 (หากฝ่าฝืนเป็นความผิดทางวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบธรรมเนียมของทางราชการ)

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๕๕ ลง ๘ มิ.ย.๒๕๑๖.


         ๑๘. ไม่ส่งมอบงานในหน้าที่ เมื่อพ้นจากตำแหน่ง อาจเป็นความผิดทางวินัยได้ เช่น
                 (๑) ออกจากราชการทุกกรณี เว้นแต่ตาย
                 (๒) พ้นจากตำแหน่งเดิม
                 (๓) พักราชการ
                 (๔) ไปรักษาการตำแหน่งอื่นที่ว่าง

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๓๖ ลง ๑๓ ก.พ.๒๕๒๔.


          ๑๙. ให้เลิกใช้บริการทางเพศ ระหว่างไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัด ทั้ง
                 (๑) ข้าราชการส่วนกลาง
                 (๒) ข้าราชการส่วนภูมิภาค
                 (๓) ข้าราชการส่วนท้องถิ่น

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๒๙ ลง ๑๙ ก.พ. ๒๕๒๘.


          ๒๐. การเสพสุราที่ถือเป็นความผิดวินัยฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เช่น
                (๑) เสพสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                (๒) เมาสุราเสียราชการ
                (๓) เมาสุราในที่ชุมชนจนเกิดเรื่องเสียหาย หรือเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ

           ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นว ๒๐๘/๒๔๙๖ ลง ๑ ก.ย.๒๔๙๖.
               
                                                       
                                       สวัสดี
 
----------
          ๑. กรมการปกครอง, คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อาสารักษาดินแดน), ๒๕๔๕.
          ๒. สำนักงาน ก.พ., ตอบข้อหารือเกี่ยวกับวินัยข้าราชการพลเรือน, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๔๐.
          ๓. สำนักงาน ก.พ., รวมมติ ครม. มติ ก.พ.ที่เกี่ยวกับวินัย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๕๒.

คำถาม ๑๒/๙/๖๑

คำถาม  ๑๒/๙/๖๑
     ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์ประวิทย์ครับว่า กรณีเราสอบสวนและลงโทษตามหลักเกณฑ์วินัย ปี 45 ไปแล้ว หากต่อมาศาลปกครองเพิกถอนเหตุกระบวนการสอบสวนวินัยไม่ชอบภายหลังที่หลักเกณฑ์วินัยใหม่ 58 บังคับใช้แล้ว ขอเรียนถามว่า
     1.ในการสอบสวนใหม่ใช้หลักเกณฑ์ใหม่ ปี 58 เลยถูกต้องหรือเปล่าครับ
     2.ผู้ที่ออกไปแล้วระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง มีคำพิพากษา 4 ก.ย.61 คดีถึงที่สุด (ลาออก 31 มี.ค.60/เกษียณ 30 ก.ย.60) จะต้องถูกสอบสวนใหม่ด้วย แต่ตอนลงโทษ หากเป็นวินัยไม่ร้ายแรงให้งดโทษไว้ ถูกหรือเปล่าครับ ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

ตอบ
          กรณีคำถามต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย (พ.ศ.๒๕๕๘/๒๕๕๙) ข้อ ๒๘ และ ๘๙ 
          ข้อ ๒๘ สรุปว่า..มีการร้องเรียนกล่าวหาเป็นหนังสือต่อนายกฯ หรือต่อผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนออกจากราชการ ให้นายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันออกจากราชการ ถ้าจะต้องสั่งลงโทษเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรง (ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นนเงินเดือน) ก็ให้งดโทษเสีย แต่ถ้าจะต้องสั่งลงโทษเป็นวินัยอย่างร้ายแรง (ปลดออก/ไล่ออก) ให้สั่งลงโทษย้อนหลังไปถึงวันออกจากราชการนั้น
          ข้อ ๘๙ ซึ่งเสมือนบทเฉพาะกาล สรุปว่า
          ๑. ตั้งกรรมการสอบสวน ก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙ (ก่อนใช้หลักเกณฑ์ใหม่) ให้สอบสวนตามหลักเกณฑ์เดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนการพิจารณาสั่งการ (ของนายกฯ/ก.จังหวัด) ใช้หลักเกณฑ์ใหม่
          ๒. ทำผิดก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙ แต่ยังไม่ได้ตั้งกรรมการสอบสวน ให้ตั้งกรรมการสอบสวนตามหลักเกณฑ์ใหม่ ส่วนการปรับบทความผิดและสถานโทษ ให้อ้างหลักเกณฑ์ที่ใช้ในขณะกระทำผิด (หลักเกณฑ์เดิม)
          ๓. มีการสืบสวน/สอบสวนก่อนวันโอน ให้ดำเนินการจนเสร็จแล้วส่งเรื่องให้นายกฯ สังกัดปัจจุบันพิจารณาสั่งการ

          เมื่อ "ไล่สาย" กรณีคำถามตามหลักเกณฑ์เดิม (๒๕๔๕) จะมีคำตอบเป็น ๒ แนวทาง ดังนี่
          ๑. หากนายกฯ สั่งตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ผลเป็นวินัยไม่ร้ายแรง (ภาคทัณฑ์/ตัดเงินเดือน/ลดขั้นเงินเดือน) จึงออกคำสั่งลงโทษ แล้วรายงานไปยัง ก.จังหวัดเพื่อพิจารณา ซึ่ง ก.จังหวัดเห็นชอบ (หากมีการอุทธรณ์และยกอุทธรณ์ด้วย) กระบวนการทางวินัย..จบ
          ผู้ถูกลงโทษทุกคน (หรือบางคน) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ระหว่างนั้น ๑ คน ลาออกเมื่อ ๓๑ มี.ค.๒๕๖๐ อีก ๑ คน เกษียณอายุราชการเมื่อ ๓๐ ก.ย.๒๕๖๐ ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาเมื่อ ๔ ก.ย.๒๕๖๑ ว่า กระบวนการสอบสวนไม่ชอบ ให้นายกฯ ยกเลิกคำสั่งลงโทษแล้วให้ดำเนินการทางวินัยใหม่ให้ถูกต้อง จึงเป็นกรณีกระบวนการดำเนินการทางวินัยย่อมถือ "เป็นการเริ่มต้นใหม่" เทียบเคียงหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๗๙๐ ลง ๑๐ พ.ย.๒๕๓๘
          ดังนั้น นายกฯ ต้องออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ แต่เนื่องจากมีข้าราชการบางรายได้ออกจากราชการไปแล้ว จึงต้องพิจารณาว่าพ้น ๑๘๐ วันหรือไม่ ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้นั้นได้อีก
          จากคำถาม จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ได้ เฉพาะผู้ที่อยู่ในราชการ เนื่องจากอีก ๒ ราย ออกจากราชการไปพ้น ๑๘๐ วันแล้ว
          ๒. ถ้าตั้งกรรมการสอบวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และนายกฯ ออกคำสั่งลงโทษอย่างไม่ร้ายแรง แล้ว ก.จังหวัดเห็นชอบ (หากมีการอุทธรณ์และยกอุทธรณ์ด้วย)..จบ
          ต่อมาศาลปกครองได้มีคำพิพากษา (เมื่อ ๔ ก.ย.๒๕๖๑ คดีถึงที่สุด) ให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษ แม้จะมีบางรายออกจากราชการไปแล้ว ก็ไม่จำต้องพิจารณาถึงประเด็น ๑๘๐ วันอีก เพราะเป็นการกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงมาแต่ต้น จึงไม่ต้องด้วยข้อ ๒๘ วรรคสอง ของหลักเกณฑ์วินัยใหม่

          ประเด็นคำถาม
          ๑. ใช้หลักเกณฑ์ใหม่แต่งตั้งกรรมการสอบสวน ถูกต้องหรือไม่
          ๒. ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วต้องสอบด้วย แล้วสั่งงดโทษ ใช่หรือไม่

          สรุป
          ๑. ถูกต้อง (เฉพาะผู้อยู่ในราชการ) ตามข้อ ๘๙ วรรคสอง ของหลักเกณฑ์ใหม่
          ๒. สอบผู้ออกไปแล้วไม่ได้ เพราะ
               (๑) พ้น ๑๘๐ วันนับแต่ออกจากราชการ (ถ้าเป็นวินัยร้ายแรง)
               (๒) เป็นการกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง จึงไม่ต้องด้วยข้อ ๒๘ ของหลักเกณฑ์ใหม่
          คำอธิบายดังข้างต้น
          ขอบคุณทุกความเห็น ครับ

คำถาม ๑๒/๙/๖๑

คำถาม  ๑๒/๙/๖๑
     ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์ประวิทย์ครับว่า กรณีเราสอบสวนและลงโทษตามหลักเกณฑ์วินัย ปี 45 ไปแล้ว หากต่อมาศาลปกครองเพิกถอนเหตุกระบวนการสอบสวนวินัยไม่ชอบภายหลังที่หลักเกณฑ์วินัยใหม่ 58 บังคับใช้แล้ว ขอเรียนถามว่า
     1.ในการสอบสวนใหม่ใช้หลักเกณฑ์ใหม่ ปี 58 เลยถูกต้องหรือเปล่าครับ
     2.ผู้ที่ออกไปแล้วระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง (คำพิพากษา 4 ก.ย.61 คดีถึงที่สุด ลาออก 31 มี.ค.60/เกษียณ 30 ก.ย.60) จะต้องถูกสอบสวนใหม่ด้วย แต่ตอนลงโทษ หากเป็นวินัยไม่ร้ายแรงให้งดโทษไว้ ถูกหรือเปล่าครับ ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๑
                                   ๑๑ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๒
        การรายงานการดำเนินการทางวินัย (ต่อ)


          อธิบาย (ต่อ)         
          ๖. เมื่อ ก.จังหวัดพิจารณาเห็นว่า
               (๑) การลงโทษ การงดโทษ หรือการสั่งยุติเรื่อง
                     ๑) เป็นการไม่ถูกต้อง
                     ๒) เป็นการไม่เหมาะสม
               (๒) และมีมติเป็นประการใด
               (๓) ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นตามนั้น
           ๗. การพิจารณาของอนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี ต้องแสดงเหตุผลให้ปรากฏเป็นหนังสือไว้ในรายงานการประชุมด้วย เช่น
               (๑) เห็นชอบ ตามความเห็นของ......เพราะเหตุใด
               (๒) ไม่เห็นชอบ ตามความเห็นของ......เพราะเหตุใด
               (๓) การสอบสวนไม่หมดประเด็น ได้แก่
                     ๑).........
                     ๒).........
               จึงให้สอบเพิ่มเติมในประเด็น....... เป็นต้น
          ๘. กรณีผู้บริหารท้องถิ่น ได้สั่ง
               (๑) ลงโทษ
               (๒) เพิ่มโทษ
               (๓) ลดโทษ
               (๔) งดโทษ
               (๕) ยกโทษ
               (๖) ยุติเรื่อง
               (๗) ให้ออกจากราชการ เพราะไม่เลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
               (๘) ให้ออกจากราชการ เพราะ
                     ๑) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                     ๒) บกพร่องต่อหน้าที่ราชการ
                     ๓) ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
               ให้รายงานต่อ ก.จังหวัดเพื่อทราบ
          ๙. เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น ได้มีคำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ
              (๑) ถ้าเพิ่มโทษ เป็นสถานโทษที่หนักขึ้น ลดโทษ เป็นสถานโทษที่เบาลง งดโทษ ยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิม ให้เป็นอันยกเลิก
              (๒) ถ้าลดโทษ เป็นอัตราโทษที่เบาลง อัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก
              (๓) ในกรณีคำสั่งโทษตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิก
                    ๑) ให้คืนเงินเดือนที่ตัด/ลดไว้ตามคำสั่งนั้น
                    ๒) ให้แก่ผู้ถูกสั่งลงโทษ         


          ตัวบท
          (อนุวินัย/ก.จังหวัด ให้สอบเพิ่ม)
          ข้อ ๘๘ เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นได้ดำเนินการทางวินัย หรือพิจารณาลงความเห็นให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดออกจากราชการในเรื่องใด ถ้าอนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคล พ.ศ.๒๕๔๒ ก็ให้มีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบไปให้ผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บริหารท้องถิ่นได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย
          ในการสอบสวนเพิ่มเติม ถ้าอนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี  พิจารณาเห็นเป็นการสมควรส่งประเด็นหรือข้อสำคัญใดที่ต้องการทราบไปสอบสวนพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่ หรืออยู่นอกอำนาจของ ก.จังหวัด ก็ให้กำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญนั้นไปเพื่อขอให้ผู้บริหารท้องถิ่น หรือหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นทำการสอบสวนแทนได้ และให้นำข้อ ๖๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          ในกรณีผู้บริหารท้องถิ่นส่งประเด็นหรือข้อสำคัญตามวรรคสอง ไปเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น (สังกัดอื่น)  หัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้น ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ในเรื่องเกี่ยวกับกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดอย่างร้ายแรง ตามข้อ ๒๖ วรรคหก ให้นำการสอบสวนพิจารณาตามหมวด ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          เมื่อความปรากฏแก่ ก.กลาง (ก.จ., ก.ท., ก.อบต.) ว่าการดำเนินการทางวินัยของผู้บริหารท้องถิ่นใด หรือการพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยของ ก.จังหวัดแห่งใด ขัดแย้งกับมาตรฐานทั่วไปนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ต่อไป

          อธิบาย
          เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น ได้
          ๑. ดำเนินการทางวินัย หรือ
          ๒. ลงความเห็นให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดออกจากราชการ
          ถ้าอนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี
          ๑. เห็นสมควรสอบเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์
              (๑) แห่งความเป็นธรรม
              (๒) ในการกำกับดูแลข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.บุคคลฯ ปี ๒๕๔๒
          ๒. ให้กำหนดประเด็น/หัวข้อสำคัญส่งให้ผู้บริหารท้องถิ่นแจ้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมสอบสวนเพิ่มเติมได้
          ๓. อนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี อาจขอให้มีการรวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่ได้เช่นเดียวกับคณะกรรมการสอบสวน โดยเป็นผู้ส่งประเด็นหรือข้อสำคัญเอง
          ๔. การรวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่ของผู้บริหารท้องถิ่น ให้นำหลักการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
          ๕. เมื่อความปรากฏแก่ ก.กลาง ไม่ว่าทางใดก็ตาม ว่า
               (๑) การดำเนินการทางวินัยของผู้บริหารท้องถิ่นแห่งใด หรือ
               (๒) การพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยของ ก.จังหวัดแห่งใด
               ขัดแย้งกับมาตรฐานทั่วไปนี้
          ก.กลาง ต้องพิจารณาตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.บุคคลฯ ปี ๒๕๔๒ กล่าวคือ
          ๑. ให้ผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ก.จังหวัด แก้ไขภายในเวลาอันสมควร
          ๒. ถ้า
               (๑) ผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ก.จังหวัด ไม่แก้ไขภายในเวลาอันสมควร หรือ
               (๒) จะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
               ให้ ก.กลางสั่งระงับหรือเพิกถอนได้
                 

          ตัวบท
          (บทเฉพาะกาล)
          ข้อ ๘๙ ในกรณีมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๔ โดยอนุโลมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนการพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปนี้
          ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาจากข้าราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือข้าราชการตามกฏหมายอื่นผู้ใด มีกรณีกระทำผิดอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น (นั้น) ให้ผู้บริหารท้องถิ่นดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามมาตรฐานทั่วไปนี้ ส่วนการดำเนินการเพื่อปรับบทความผิดและการสั่งลงโทษ ให้ดำเนินการตามกฏหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะกระทำผิด
          กรณีเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอน ก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปจนแล้วเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บริหารท้องถิ่นสังกัดปัจจุบันพิจารณาดำเนินการตามวรรคหนึ่ง

          อธิบาย
          บทเฉพาะกาล มี ๓ กรณี คือ
          ๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ (ก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙)
              (๑) ให้คณะกรรมการทำการสอบสวนตามมาตรฐานทั่วไปเดิม (ฉบับลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๔)
จนกว่าจะแล้วเสร็จ
              (๒) ส่วนการพิจารณาสั่งการ ให้ดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปนี้ (หมายถึงการพิจารณาสั่งการของผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึง ก.จังหวัด)
          ๒. ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใด
               (๑) ทำผิดอยู่ก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙ หรือ
               (๒) โอนมาจากสังกัดอื่น ก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙
               ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสอบสวนพิจารณาตามมาตรฐานทั่วไปนี้
               ส่วนการปรับบทความผิดและปรับสถานโทษ ให้อ้างกฎหมายขณะกระทำผิด
          ๓. กรณีมีการสืบสวน/สอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอน
               (๑) ให้สืบสวน/สอบสวนต่อไปจนแล้วเสร็จ
               (๒) จากนั้นต้องส่งเรื่องให้ผู้บริหารท้องถิ่นสังกัดปัจจุบันพิจารณาสั่งการ

          เป็นอันครบถ้วนทั้ง ๘๙ ข้อ จะเห็นว่ามีรายละเอียดมากมาย และมีความซับซ้อนอยู่บ้าง ดังนั้น จึงแนะนำว่าเมื่อประสงค์จะศึกษาเฉพาะส่วน เพื่อนำไปปฏิบัติทันที สามารถศึกษาเฉพาะหัวข้อนั้น ๆ ซึ่งสอนไปแล้วในแต่ละครั้ง สรุปสาระสำคัญตามหัวข้อ ได้ดังนี้

          - ฐานความผิดทางวินัย ๑๘ ฐาน ข้อ ๖-๒๓ (ครั้งที่ ๕-๙/๒๕๖๑)
          - ก่อนดำเนินการทางวินัย ข้อ ๒๔-๒๕ (ครั้งที่ ๑๐-๑๑)
          - หลักการดำเนินการทางวินัย ข้อ ๒๖ (ครั้งที่ ๑๑-๑๒)
          - อำนาจหน้าที่กรรมการสอบสวน ข้อ ๒๗
          - ดำเนินการทางวินัยผู้ที่ออกจากราชการไปแล้ว ข้อ ๒๘ (ครั้งที่ ๑๒)
          - สั่งพักราชการ/สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระหว่างถูกสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ ๒๙ (ครั้งที่ ๑๓)
          - กันและคุ้มครองพยาน ข้อ ๓๐-๔๔ (ครั้งที่ ๑๓-๑๔)
          - การกระทำที่ปรากฏชัดแจ้ง ข้อ ๔๕-๔๗ (ครั้งที่ ๑๔-๑๕)
          - สอบสวนพิจารณา ข้อ ๔๘ (ครั้งที่ ๑๕)
          - องค์ประกอบ/คุณสมบัติคณะกรรมการสอบสวน ข้อ ๔๙ (ครั้งที่ ๑๖)
          - ข้อความที่ต้องระบุในคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวน (สว.๑) ข้อ ๕๐
          - แจ้ง สว.๑ ข้อ ๕๑
          - ประชุมครั้งแรก ข้อ ๕๒
          - องค์ประชุมและการลงมติ ข้อ ๕๓ (ครั้งที่ ๑๗)
          - คัดค้านและสั่งคำคัดค้านกรรมการสอบสวน ข้อ ๕๔-๕๕ (ครั้งที่ ๑๘-๑๙)       
          - การเปลี่ยนแปลงคำสั่ง สว.๑ (ไม่ใช่ยกเลิก) ข้อ ๕๖
          - หน้าที่กรรมการสอบสวน ข้อ ๕๗
          - ระยะเวลาการสอบสวน ข้อ ๕๘ (ครั้งที่ ๑๙)
          - ใช้พยานหลักฐาน ข้อ ๕๙
          - แจ้ง สว.๒ ข้อ ๖๐ (ครั้งที่ ๒๐)
          - แจ้ง สว.๓ ข้อ ๖๑ (ครั้งที่ ๒๑)
          - รวบรวมพยานหลักฐาน/ชี้แจงเพิ่มเติม ข้อ ๖๒-๖๓
          - เน้นองค์ประชุม ข้อ ๖๔
          - ข้อห้าม/วิธีสอบปากคำ ข้อ ๖๕-๖๖
          - ตัด/งดพยาน ข้อ ๖๗-๖๘ (ครั้งที่ ๒๒)
          - รวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่ ข้อ ๖๙
          - สอบพบเรื่องอื่น ข้อ ๗๐
          - ผลสอบพาดพิงผู้อื่น ข้อ ๗๑
          - สอบหย่อน/บกพร่อง/ประพฤติไม่เหมาะ แล้วพบวินัย ข้อ ๗๒ (ครั้งที่ ๒๓)
          - นำคำพิพากษามาใช้ ข้อ ๗๓
          - โอนสังกัดระหว่างสอบสวน ข้อ ๗๔
          - กรรมการประชุมลงมติ ข้อ ๗๕
          - จัดทำ สว.๖ ข้อ ๗๖ (ครั้งที่ ๒๔)
          - ผู้บริหารท้องถิ่นตรวจ/สั่งสำนวน ข้อ ๗๗ (ครั้งที่ ๒๕)
          - ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งสอบเพิ่ม ข้อ ๗๘
          - ผลสอบเสียทั้งหมด ข้อ ๗๙
          - ผลสอบเสียเฉพาะส่วน ข้อ ๘๐
          - กรรมการไม่แจ้ง สว.๓ ข้อ ๘๑
          - ไม่ทำสาระสำคัญ ผู้บริหารท้องถิ่นต้องสั่งให้ทำโดยเร็ว ข้อ ๘๒ (ครั้งที่ ๒๖)
          - นับระยะเวลา ข้อ ๘๓
          - ลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง ข้อ ๘๔
          - ลงโทษวินัยร้ายแรง ข้อ ๘๕ (ครั้งที่ ๒๗)
          - วิธีออกคำสั่งลงโทษ ข้อ ๘๖ (ครั้งที่ ๒๘)
          - ก.จังหวัดพิจารณา ข้อ ๘๗ (ครั้งที่ ๒๙)
          - อนุวินัย/ก.จังหวัด สั่งสอบเพิ่ม ข้อ ๘๘
          - บทเฉพาะกาล ข้อ ๘๙ (ครั้งที่ ๓๐)
                                                   
       
                                       สวัสดี
 
----------
          - มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.๒๕๕๘.

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑                                    ๒๐ ก.ย. ๒๕๖๑                                       ...