วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑
                                   ๒๐ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๓
                           ปกิณกะวินัย (ต่อ)


          อื่น ๆ (ต่อ)


          ๔. วันที่ถือว่า "พ้นจากตำแหน่งเดิม" คือ ตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่ง แม้จะยังมิได้
               (๑) มอบหมายการงาน หรือ
               (๒) ถูกส่งตัวไปก็ตาม
               ผู้บังคับบัญชาเดิมไม่มีอำนาจดำเนินการทางวินัย หากมีการสั่งลงโทษ ต้องยกเลิกคำสั่งนั้นเสีย

          ที่มา : ๑. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๖๒๑ ลง ๒๘ มิ.ย.๒๕๓๖
                   ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๓๑๙ ลง ๑๘ ต.ค.๒๕๓๗.


          ๕. ข้าราชการต้องหาคดีอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ผู้บังคับบัญชาต้องรีบดำเนินการทางวินัยไปพร้อมกันด้วย

          ที่มา : ๑. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ลับ ที่ ๑๓๓๓๓/๒๔๙๘ ลง ๘ ก.ค.๒๔๙๘
                    ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร ๐๙๐๕/ว ๔ ลง ๑๘ มี.ค.๒๕๐๙
                    ๓. หนังสือสำนักงาน ก.อบต.ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๗๔๐ ลง ๑๑ พ.ค.๒๕๔๗
                    ๔. หนังสือสำนักงาน ก.อบต.ที่ มท ๐๘๐๙.๖/๗๐๒๙ ลง ๑๗ พ.ย.๒๕๕๑.


         ๖. การดำเนินการทางวินัยและการดำเนินคดีอาญา กฎหมายกำหนดเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากกัน การดำเนินการทางวินัยไม่จำต้องรอผลทางคดีอาญาแต่อย่างใด เมื่อกรณีหรือคดีถึงที่สุดผลอาจต่างกันได้ เพราะการรับฟังพยานหลักฐานอาจต่างกัน  แม้ศาลจะเห็นต่างผู้บังคับบัญชาก็หาต้องรับผิดไม่ ถ้าลงโทษไปโดยสุจริต

          ที่มา : คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๓๗๐/๒๕๕๐.


          ๗. หากการสอบสวนทางวินัยยังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิด สมควรรอการสั่งการเด็ดขาดทางวินัยไว้ก่อนจนกว่าจะทราบผลทางคดีอาญา

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร ๐๙๐๕/ว ๙ ลง ๖ ต.ค.๒๕๐๙.


          ๘. กรณีมีเหตุสงสัยว่าข้าราชการในสังกัดกระทำการทุจริต ให้ผู้บังคับบัญชาสอบสวนข้อเท็จจริงให้ประจักษ์เสียก่อนทุกคราว ก่อนแจ้งความหรือมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป

          ที่มา : หนังสือกรมเลขาธิการ ครม.ที่ นว ๑๖/๒๔๘๖ ลง ๒๓ ม.ค. ๒๔๘๖.


          ๙. เจตนารมณ์ในการสอบสวนทางวินัย คือ ให้คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้บังคับบัญชาสอบสวนจนสิ้นกระบวนการ ไม่ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาสั่งยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือระงับการสอบสวนที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายได้ หากปรากฏว่าคุณสมบัติของกรรมการสอบสวนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ผู้สั่งแต่งตั้งก็ชอบที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้ครบถ้วนถูกต้องได้

           ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๑/ล ๒๔ ลง ๓๑ ม.ค.๒๕๔๓.


           ๑๐. แนวคิดของการตั้งกรรมการสอบสวน คือ กรรมการสอบสวนต้องเป็นข้าราชการประจำ มีอย่างน้อย ๓ คน เพราะต้องการให้กระทำโดยคณะบุคคล ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่สอบสวน เพื่อเป็นการคานอำนาจของผู้บังคับบัญชา

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๑/๑๑๓ ลง ๑๐ เม.ย.๒๕๔๔.


          ๑๑. การที่จะถือว่ามีการดำเนินการทางวินัยแล้ว ให้พิจารณาจาก
                 (๑) ต้องตั้งเรื่องกล่าวหาโดยแจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าเขาตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยแล้ว
                 (๒) ให้โอกาสชี้แจงเหตุผลแก้ข้อกล่าวหาด้วย
                 (๓) ผลเป็นประการใดก็ตาม ถือว่ามีการดำเนินการทางวินัยตามกระบวนการของกฎหมายแล้ว

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ ๐๗๐๙.๒/ป ๑๑๑๘ ลง ๒๙ พ.ย.๒๕๓๗.


          ๑๒. การดำเนินการทางวินัยกรณีเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งกรรมการสอบสวนไว้แล้ว จะออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนในเรื่องนั้นอีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำนินการทางวินัยซ้ำ ต้องยกเลิกคำสั่งหลัง (ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๔๗ ลง ๑๙ ก.พ.๒๕๓๖.


          ๑๓. การพิจารณาว่าดำเนินการทางวินัยซ้ำหรือไม่ ให้ยึดถือหลักเจตนาของผู้กระทำและข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โดย
                (๑) หากเป็นเรื่องกล่าวหาที่มีการกระทำหลายครั้งแต่มีเจตนาเดียวต่อเนื่องกัน
                (๒) ต้องถือว่าการกระทำทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ในเรื่องเดียวกัน
                (๓) เมื่อมีการดำเนินการทางวินัยกับผู้กระทำผิดไปแล้ว จะดำเนินการทางวินัยในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๑/ล ๙๐ ลง ๑๔ ก.พ.๒๕๔๕.


          ๑๔. ข้าราชการต่างสังกัดกระทำผิดร่วมกัน ให้แต่ละสังกัดปรึกษาหารือในการสอบสวนพิจารณาโทษให้ได้ระดับเดียวกัน โดยให้แต่ละสังกัดแต่งตั้งกรรมการสอบสวนประกอบด้วยตัวบุคคลชุดเดียวกันเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ข้อเท็จจริงปรากฏไปในทางเดียวกัน

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นว ๓/๒๔๙๔ ลง ๒๙ ม.ค.๒๔๙๔.


          ๑๕. สำนวนการสอบสวนทางวินัยที่เสร็จเด็ดขาดแล้ว ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี เพื่อประโยชน์ของทางราชการ เช่น
                 (๑) ใช้อ้างในทางอรรถคดี
                 (๒) พิจารณายกเว้นคุณสมบัติเกี่ยวกับความประพฤติ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร ๐๙๐๖/ว ๖ ลง ๘ มิ.ย.๒๕๑๔.


          ๑๖. สำนวนการสอบสวนทางวินัยสูญหายโดยที่ผู้มีอำนาจยังมิได้วินิจฉัยสั่งการให้เสร็จไป
                 (๑) ถ้าไม่มี
                       ๑) สำเนาสำนวนการสอบสวน หรือ
                       ๒) สำเนารายงานการสอบสวน หรือ
                       ๓) เอกสารใด ๆ ที่จะยืนยันได้ว่าสำนวนการสอบสวนที่สูญหายไปนั้นมีพยานหลักฐานอย่างไรบ้างพอที่จะวินิจฉัยได้อยู่เลย
                 (๒) ควร
                       ๑) ให้คณะกรรมการทำการสอบสวนใหม่ หรือ
                       ๒) แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนใหม่
                            และพิจารณาให้เสร็จสิ้นไป

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร ๑๐๐๖/๑๔๐๐๗๔ ลง ๒๙ ต.ค.๒๕๑๙.     


          ๑๗.   ถูกจำคุกขณะรับราชการ แม้พฤติกรรมนั้นถูกลงโทษเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรงไปแล้ว ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงอีกครั้ง เพราะ
                    (๑) เป็นความผิดฐานกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
                    (๒) ไม่ได้ตั้งฐานจากการกระทำเดิมของผู้กระทำผิดซึ่งได้รับการล้างมลทิน แต่เป็นความผิดใหม่
                    (๓) ไม่เป็นการลงโทษทางวินัยซ้ำ เพราะเป็นความผิดคนละฐานกับฐานความผิดที่ถูกดำเนินการทางวินัยไปแล้ว

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๑๐๑๑/ว ๑๓ ลง ๒๓ มิ.ย.๒๕๔๗.


          ๑๘. เงินสมนาคุณกรรมการสอบสวนทางวืนัยเบิกได้เฉพาะการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ในอัตราดังนี้
                (๑) ประชุม/สอบสวนตามปกติ เบิกได้ครั้ง ๒๕๐ บาท
                (๒) ประชุมเพื่อจัดทำ สว.๓ และพิจารณามีมติเพื่อทำ สว.๖ เบิกได้ครั้งละ ๓๐๐ บาท
                (๓) เบิกได้ไม่เกิน ๖๐ วันนับแต่ประชุมครั้งแรก
                (๔) เบิกจากหน่วยงานเจ้าของคำสั่ง

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.อบต., ก.ท. และ ก.จ.ที่ มท ๐๘๐๙.๑/ว ๓๘๑ ลง ๑๙ มี.ค.๒๕๔๖.
                                 
                                                       
                                       สวัสดี
   
----------
          ๑. กรมการปกครอง, คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อาสารักษาดินแดน), ๒๕๔๕.
          ๒. สำนักงาน ก.พ., ตอบข้อหารือเกี่ยวกับวินัยข้าราชการพลเรือน, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๔๐.
          ๓. สำนักงาน ก.พ., รวมมติ ครม. มติ ก.พ.ที่เกี่ยวกับวินัย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๕๒.

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๑
                                   ๑๘ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๓
                           ปกิณกะวินัย (ต่อ)


          วิธีก่อนการดำเนินการทางวินัย


          ๑. ถูกร้องเรียนกล่าวโทษว่ากระทำผิดวินัย
              (๑) ให้ผู้บังคับบัญชาถือเป็นความลับของทางราชการ
              (๒) ให้สืบสวนทางลับว่ามีมูลหรือไม่
                     ๑) ถ้าไม่มีมูลให้ยุติเรื่อง
                     ๒) ถ้ามีมูลอาญา ให้ดำเนินคดีอาญา
                     ๓) ถ้ามีมูลวินัย ให้ดำเนินการทางวินัย
                     ๔) ถ้ามีมูลละเมิด ให้ดำเนินการทางละเมิด
                     ไปพร้อมกันโดยเร็ว
              (๓) ให้คุ้มครองพยาน อย่าให้ต้องรับภัย

          ที่มา : หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท ๐๒๐๘.๓/ว ๒๐๗ ลง ๒๕ ม.ค.๒๕๔๒.


          ๒. อบต. เทศบาล เมืองพัทยา อบจ.ถูกร้องเรียน ให้จังหวัดตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย
               (๑) อบต./เทศบาลตำบล อาจมอบให้อำเภอดำเนินการ
               (๒) เทศบาลเมือง/นคร/เมืองพัทยา/อบจ. จังหวัดดำเนินการเอง

          ที่มา : หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๑๕๔๘ ลง ๙ ส.ค.๒๕๔๘.


          การดำเนินการทางวินัย


          ๑. การตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องที่ สตง.ชี้มูล เป็นการดำเนินการทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแล้ว สตง.สามารถนำผลมาเป็นข้อยุติในเรื่องนี้ได้

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๓๓๘ ลง ๑ ธ.ค.๒๕๓๘.


          ๒. จะถือว่าถูกกล่าวหาไว้ก่อนออกจากราชการ
              (๑) ต้องมีการระบุชื่ออย่างชัดเจน จึงจะดำเนินการทางวินัยได้
              (๒) หากไม่ระบุชื่อจะดำเนินการทางวินัยไม่ได้

          ที่มา : ๑. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๑/๒๖๐ ลง  ๑๔ พ.ย.๒๕๔๔
                   ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๑๔๙๔ ลง ๑๑ พ.ย.๒๕๓๙
                   ๓. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๑๐๑๑/ล ๔๙๕ ลง ๒๗ พ.ค.๒๕๕๑.


          ๓. กรรมการสอบสวนที่มิได้ร่วมสอบ มาลงลายมือชื่อในภายหลังเพื่อให้ครบองค์ประชุม ไม่อาจทำให้การสอบสวนดังกล่าวเป็นการสอบสวนที่ถูกต้องขึ้นมาได้ และถือว่ากรรมการสอบสวนผู้นั้นกระทำผิดวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๑๐๖๖ ลง ๑๕ พ.ย.๒๕๓๗.


          ๔. คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเกินระยะเวลาที่กำหนด โดยมิได้ขอขยายเวลาการสอบสวน ไม่ถือเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรมแต่อย่างใด

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๒๒ ลง ๑๗ ม.ค. ๒๕๓๙.


          ๕. การแจ้ง สว.๒ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เมื่อล่วงพ้น ๑๕ วันนับแต่วันส่ง แม้จะไม่ได้รับ สว.๒ คืน ก็ถือว่าได้รับทราบ สว.๒ แล้ว

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๑๐๖ ลง ๒๒ มี.ค.๒๕๓๙.


          ๖. สว.๒ และ สว.๓ สามารถแจ้งในวันเดียวกันได้ มิได้มีข้อห้ามการแจ้งในวันเดียวกัน

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๑๑๙ ลง ๑๙ มี.ค.๒๕๔๐.


          ๗. การสั่งให้ชะลอการสืบสวน เป็นการสั่งที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของกฎหมาย

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๔๖๘ ลง ๒๑ ส.ค.๒๕๓๘.


          ๘. การเสนอสำนวนการสอบสวน ให้เสนอต่อนายก อปท.โดยตรง

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.อบต.ที่ มท ๐๘๐๙.๖/ว ๑๓๙ ลง ๕ ก.ย.๒๕๔๙.


          การลงโทษทางวินัย


          ๑. การอ้างเหตุลดหย่อนในการสั่งลงโทษทางวินัย ต้องวางระดับโทษที่จะลงไว้ก่อน

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๖๑๑/ว ๓ ลง ๒๕ มี.ค.๒๕๒๘.


          ๒. คำว่าถูกลงโทษทางวินัย หมายถึง การที่ผู้ถูกลงโทษได้รับโทษจริง หรือคำสั่งลงโทษมีผลใช้บังคับ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๕๗ ลง ๔ ก.พ.๒๕๔๐.


          ๓. การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนผู้เกษียณอายุราชการ ต้องสั่งย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ซึ่งเป็นก่อนวันออกจากราชการ (เพียงแสดงการลงโทษให้ปรากฏ)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๓๒๑ ลง ๒๓ ส.ค.๒๕๓๖.


          ๔. การสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับตำแหน่งหรือวุฒิการศึกษา สามารถกระทำได้ แต่มิอาจลงโทษลดขั้นเงินเดือนกรณีรับเงินเดือนในระดับต่ำสุดอยู่แล้ว และไม่มีขั้นเงินเดือนที่ต่ำกว่านั้นอีก

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๑๔๐๖ ลง ๗ ก.ย.๒๕๓๖.


          การรายงานการดำเนินการทางวินัย


          ๑. รองผู้ว่าราชการจังหวัด เคยนั่งประชุมพิจารณาเรื่องใดในชั้นของอนุวินัย หรือในชั้นของอนุอุทธรณ์มาแล้ว ไม่อาจร่วมประชุมและพิจารณาเรื่องนั้นได้อีกในชั้นของ ก.จังหวัด (กรรมการอื่นก็เช่นเดียวกัน)

          ที่มา : คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๒๔๔-๒๔๖/๒๕๕๒.


          ๒. ก.จังหวัดพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแล้วมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง กระบวนการดำเนินการทางวินัย "ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่" เป็นกรณีการดำเนินการทางวินัยได้ผ่านขั้นตอนของความเห็นขัดแย้งไปแล้ว

          ที่มา : เทียบเคียงหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๗๙๐ ลง ๑๐ ก.ย.๒๕๓๘.


          อื่น ๆ


         ๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่ในเรื่องเดิม แต่มิได้ระบุในคำสั่งใหม่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสอบสวน ถือเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๑๐๖๖ ลง ๑๕ พ.ย.๒๕๓๗.


          ๒. ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน  ย่อมไม่มีผลให้ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการตามกฎหมายได้

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๑๗๑ ลง ๑๙ ก.ค.๒๕๓๘.


          ๓. มติ ก.จังหวัดที่เห็นชอบให้ลงโทษ (หรือเพิ่มโทษ) เป็นลดขั้นเงินเดือน ๓ ขั้น (หรือตัดเงินเงิน ๑๐ % เป็นเวลา ๔ เดือน) เป็นมติที่ไม่อาจใช้บังคับได้ (ลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑ ขั้น/ตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕% และเป็นเวลาไม่เกิน ๓ เดือน)

          ที่มา : ๑. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๘๒๗ ลง ๓๑ ส.ค.๒๕๓๖
                   ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ล ๓๗๐ ลง ๒๖ พ.ย.๒๕๓๙.

                                                       
                                       สวัสดี
 
----------
          ๑. กรมการปกครอง, คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อาสารักษาดินแดน), ๒๕๔๕.
          ๒. สำนักงาน ก.พ., ตอบข้อหารือเกี่ยวกับวินัยข้าราชการพลเรือน, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๔๐.
          ๓. สำนักงาน ก.พ., รวมมติ ครม. มติ ก.พ.ที่เกี่ยวกับวินัย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๕๒.

คำถาม ๑๔/๙/๖๑

คำถาม  ๑๔/๙/๖๑
     เรียนถามท่าน ผอ.ครับ
     ผมเป็นพนักงานเทศบาลตำบล ก. ตำแหน่งนักวิเคราะห์ฯ ทราบว่าผมเองถูกร้องเรียนไปที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ๆ ส่งเรื่องให้เทศบาล ก.สอบสวนข้อเท็จจริง ระหว่างนั้นผมโอนมาอยู่เทศบาลตำบล ข. ต่อมาเทศบาล ก.ได้มีหนังสือชี้มูลความผิดผมมายังเทศบาล ข.โดยที่ตัวผมเองไม่เคยถูกเรียกไปสอบสวนใด ๆ ทั้งสิ้น ประเด็นคือ
     1. การสอบสวนข้อเท็จจริงลักษณะดังกล่าวก่อนชี้มูล ทำได้หรือไม่
     2. นายกเทศมนตรี ข.จะสอบข้อเท็จจริงใหม่อีก ได้หรือไม่
     3. นายกเทศมนตรี ข.จะสั่งยุติเรื่อง ได้หรือไม่
     4. ทางออกเรื่องนี้ต้องทำอย่างไร
     กราบขอบพระคุณครับ

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๑
                                   ๑๓ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๓
                              ปกิณกะวินัย


          วินัยและการรักษาวินัย


          ๑. มติ ก.พ., มติ ครม. และความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา
              (๑) เกี่ยวกับวินัย
                    ๑) ที่มีอยู่แล้ว
                    ๒) จะมีในอนาคต
              (๒) ให้นำมาใช้กับข้าราชการส่วนท้องถิ่นด้วย

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.ที่ มท ๐๓๑๓.๓/ว ๘๘๙ ลง ๓๐ ส.ค.๒๕๔๕
          หมายเหตุ
          เว้นแต่ในเรื่องเดียวกันนั้น ก.กลาง ได้กำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก


          ๒. หลักการพิจารณาความผิด "ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ"
               (๑) ต้องมีพยานหลักฐานชัดเจนพอสมควร ว่า
                     ๑) มีหน้าที่ราชการ
                     ๒) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นโดยมิชอบ
                     ๓) เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
                     ๔) มีเจตนา
               (๒) โดยความมีเถยจิตหรือเจตนาทุจริตต่อหน้าที่ราชการ อันถือเป็นเจตนาพิเศษ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๖๘๖ ลง ๑๓ ก.ค.๒๕๓๗                       
          หมายเหตุ
          ถ้าไม่มีพยานหลักฐานชัดเจนพอสมควร ไม่ควรลงโทษฐานนี้ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบ


          ๓. ปลอมแปลงลายมือชื่อเพื่อนข้าราชการหาประโยชน์ ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นร ๐๒๐๓/ว ๒๒ ลง ๒๒ ก.พ.๒๕๓๒


          ๔. ข้าราชการทุจริตในการสอบขณะรับข้าราชการ
               (๑) เป็นความผิดทางวินัย
               (๒) ต้องกำชับผู้บังคับบัญชา
               (๓) ให้ลงโทษทางวินัยสถานหนัก

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๔๐๑/ว ๕๐ ลง ๑๒ เม.ย.๒๕๑๑


          ๕. เบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทาง และเงินอื่นในทำนองเดียวกันเป็นเท็จ
              (๑) เป็นความผิดทางวินัย
              (๒) ให้พิจารณารายละเอียดเป็นราย ๆ ไป
              (๓) ถ้าเจตนาทุจริตฉ้อโกงแน่ชัด (ไม่มีหน้าที่ทำเบิก แต่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต) ผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
              (๔) ต้องลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง (ปลดออก/ไล่ออก)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน กพ.ที่ นร  ๐๗๐๙.๒/ว ๘ ลง ๒๖ ก.ค.๒๕๓๖


          ๖. ปฏิบัติงานล่าช้า เป็นความผิดทางวินัย ถ้า
               (๑) งานคั่งค้าง หรือล่าช้า
               (๒) อันเนื่องมาจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
               (๓) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
               (๔) ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษตามควรแก่กรณี

          ที่มา : หนังสือกรมเลขาธิการ ครม.ที่ นว ๒๙๓/๒๔๙๕ ลง ๒๗ พ.ย. ๒๔๙๕


          ๗. ใช้เวลาราชการไปหาความสำราญส่วนตัว
               (๑) เป็นเหตุให้งานในหน้าที่คั่งค้าง
               (๒) นับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
               (๓) ควรพิจารณาโทษสถานหนัก (ปลด/ไล่)
               (๔) เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง

          ที่มา : หนังสือกรมสารบัญ ครม.ที่ นว ๒๖๔/๒๔๙๘ ลง ๑๕ ธ.ค.๒๔๙๘


          ๘. ใช้เวลาราชการไปประกอบอาชีพส่วนตัว   
               (๑) เป็นความผิดทางวินัย
               (๒) ให้ผู้บังคับบัญชากวดขันในเรื่องนี้

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๓๗ ลง ๑ มี.ค.๒๕๒๑


          ๙. อยู่เวรรักษาสถานที่ราชการ แล้วละทิ้งหน้าที่เวร
              (๑) เป็นความผิดทางวินัย
              (๒) ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษให้เหมาะสมกับความผิด

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นร ๐๒๐๑/ว ๑๐๓ ลง ๔ มิ.ย.๒๕๒๘
          หมายเหตุ
          หากทิ้งหน้าที่เวรและเกิดอัคคีภัยผิดทั้งวินัยร้ายแรงและอาญา
          ที่มา : หนังสือกรมเลขาธิการ ครม.ด่วนมาก ที่ นว ๑๐๑/ว ๒๔๙๕ ลง ๑๘ เม.ย.๒๔๙๕                   


          ๑๐. ไม่มาปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ในวันหยุดราชการซึ่งเป็นหน้าที่ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย โดยไม่มีเหตุอันสมควร ผิดวินัยฐาน
              (๑) ขัดคำสั่งผู้บังคีบบัญชา
              (๒) ละทิ้งหน้าที่ราชการ

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๓๗๐ ลง ๒๑ มิ.ย.๒๕๓๘.


          ๑๑. การอยู่เวรรักษาสถานที่ราชการของสตรี ต้องจัดให้อยู่เฉพาะกลางวัน เว้นแต่ผู้มีหน้าที่โดยเฉพาะที่จะต้องปฏิบัติงานในเวลากลางคืนเท่านั้น เช่น แพทย์ พยาบาล เป็นต้น

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ว ๘ ลง ๒๖ ก.ค.๒๕๓๖.


          ๑๒. การอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ หมายถึง การอุทิศหรือสละเวลาทั้งหมดปฏิบัติราชการตามที่ทางราชการต้องการ รวมถึงเวลานอกเหนือจากเวลาปฏิบัติราชการตามปกติในกรณีราชการมีงานเร่งด่วนจำเป็นด้วย (การรักษาวินัย ข้อ ๑๗)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๕๘๐ ลง ๔ ก.ค.๒๕๔๐.
 

          ๑๓. ความแตกต่างระหว่าง "ละทิ้ง" กับ "ทอดทิ้ง" คือ
          "ละทิ้ง" ตัวไม่อยู่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ จะลงชื่อหรือไม่ก็ตาม
          "ทอดทิ้ง" ไม่เอาเป็นธุระ ไม่เอาใจใส่ ตัวอยู่แต่ไม่ทำงาน (การรักษาวินัย ข้อ ๑๗)

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๒๒๙ ลง ๑๐ พ.ค.๒๕๓๗.


          ๑๔. จะถือว่าขาดราชการ ต้องเป็นกรณีไม่มาทำงานตั้งแต่ครึ่งวันขึ้นไป (ไม่ถึงครึ่งว้นขึ้นไป ถือว่า "มาสาย")

          ที่มา : หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๗๓๗ ลง ๑๙ ต.ค.๒๕๓๘.     


          ๑๕. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วัน (พนักงานจ้าง/ลูกจ้าง ๗ วัน) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
              (๑) ไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย ให้ลงโทษไล่ออกย้อนหลังไปถึงวัน (เริ่ม) ขาดราชการ
              (๒) กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีก ลงโทษปลด/ไล่ออกก็ได้ (พิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป) แต่ต้องไม่ย้อนหลัง
              (๓) ทั้งสองกรณีให้นับวันหยุดราชการ (ตรงกลาง) รวมด้วย

          ที่มา :
          ๑. หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นร ๐๒๐๕/ว ๒๓๔ ลง ๒๔ ธ.ค.๒๕๓๖ (ฉบับเดียวกับกรณี "ทุจริต")
          ๒. หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/๑๐๐๐ ลง ๒๙ พ.ย.๒๕๓๗.


          ๑๖. การให้ถ้อยคำในการสอบสวนอันเป็นเท็จทั้งในฐานะผู้ถูกกล่าวหาหรือพยาน (หลายครั้งไม่ตรงกัน กลับไปกลับมา) ถือเป็นความผิดทางวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยตามควรแก่กรณี

          ที่มา : สำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๖๑๒/ว ๑ ลง ๒๔ ม.ค.๒๕๒๙.


          ๑๗. การไว้ผมและแต่งกายของข้าราชการ
                 (๑) ชายไม่ให้ไว้ผมยาวปิดตีนผม
                 (๒) หญิงห้ามนุ่งกระโปรงสั้นเหนือเข่า
                 (๓) ชายหญิงไม่ให้คาดเข็มขัดเหนือสะดือ
                 (หากฝ่าฝืนเป็นความผิดทางวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบธรรมเนียมของทางราชการ)

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๕๕ ลง ๘ มิ.ย.๒๕๑๖.


         ๑๘. ไม่ส่งมอบงานในหน้าที่ เมื่อพ้นจากตำแหน่ง อาจเป็นความผิดทางวินัยได้ เช่น
                 (๑) ออกจากราชการทุกกรณี เว้นแต่ตาย
                 (๒) พ้นจากตำแหน่งเดิม
                 (๓) พักราชการ
                 (๔) ไปรักษาการตำแหน่งอื่นที่ว่าง

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๓๖ ลง ๑๓ ก.พ.๒๕๒๔.


          ๑๙. ให้เลิกใช้บริการทางเพศ ระหว่างไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัด ทั้ง
                 (๑) ข้าราชการส่วนกลาง
                 (๒) ข้าราชการส่วนภูมิภาค
                 (๓) ข้าราชการส่วนท้องถิ่น

          ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๒๙ ลง ๑๙ ก.พ. ๒๕๒๘.


          ๒๐. การเสพสุราที่ถือเป็นความผิดวินัยฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เช่น
                (๑) เสพสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                (๒) เมาสุราเสียราชการ
                (๓) เมาสุราในที่ชุมชนจนเกิดเรื่องเสียหาย หรือเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ

           ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ นว ๒๐๘/๒๔๙๖ ลง ๑ ก.ย.๒๔๙๖.
               
                                                       
                                       สวัสดี
 
----------
          ๑. กรมการปกครอง, คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อาสารักษาดินแดน), ๒๕๔๕.
          ๒. สำนักงาน ก.พ., ตอบข้อหารือเกี่ยวกับวินัยข้าราชการพลเรือน, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๔๐.
          ๓. สำนักงาน ก.พ., รวมมติ ครม. มติ ก.พ.ที่เกี่ยวกับวินัย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สวัสดิการ ก.พ.), ๒๕๕๒.

คำถาม ๑๒/๙/๖๑

คำถาม  ๑๒/๙/๖๑
     ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์ประวิทย์ครับว่า กรณีเราสอบสวนและลงโทษตามหลักเกณฑ์วินัย ปี 45 ไปแล้ว หากต่อมาศาลปกครองเพิกถอนเหตุกระบวนการสอบสวนวินัยไม่ชอบภายหลังที่หลักเกณฑ์วินัยใหม่ 58 บังคับใช้แล้ว ขอเรียนถามว่า
     1.ในการสอบสวนใหม่ใช้หลักเกณฑ์ใหม่ ปี 58 เลยถูกต้องหรือเปล่าครับ
     2.ผู้ที่ออกไปแล้วระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง มีคำพิพากษา 4 ก.ย.61 คดีถึงที่สุด (ลาออก 31 มี.ค.60/เกษียณ 30 ก.ย.60) จะต้องถูกสอบสวนใหม่ด้วย แต่ตอนลงโทษ หากเป็นวินัยไม่ร้ายแรงให้งดโทษไว้ ถูกหรือเปล่าครับ ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

ตอบ
          กรณีคำถามต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย (พ.ศ.๒๕๕๘/๒๕๕๙) ข้อ ๒๘ และ ๘๙ 
          ข้อ ๒๘ สรุปว่า..มีการร้องเรียนกล่าวหาเป็นหนังสือต่อนายกฯ หรือต่อผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนออกจากราชการ ให้นายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันออกจากราชการ ถ้าจะต้องสั่งลงโทษเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรง (ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นนเงินเดือน) ก็ให้งดโทษเสีย แต่ถ้าจะต้องสั่งลงโทษเป็นวินัยอย่างร้ายแรง (ปลดออก/ไล่ออก) ให้สั่งลงโทษย้อนหลังไปถึงวันออกจากราชการนั้น
          ข้อ ๘๙ ซึ่งเสมือนบทเฉพาะกาล สรุปว่า
          ๑. ตั้งกรรมการสอบสวน ก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙ (ก่อนใช้หลักเกณฑ์ใหม่) ให้สอบสวนตามหลักเกณฑ์เดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนการพิจารณาสั่งการ (ของนายกฯ/ก.จังหวัด) ใช้หลักเกณฑ์ใหม่
          ๒. ทำผิดก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙ แต่ยังไม่ได้ตั้งกรรมการสอบสวน ให้ตั้งกรรมการสอบสวนตามหลักเกณฑ์ใหม่ ส่วนการปรับบทความผิดและสถานโทษ ให้อ้างหลักเกณฑ์ที่ใช้ในขณะกระทำผิด (หลักเกณฑ์เดิม)
          ๓. มีการสืบสวน/สอบสวนก่อนวันโอน ให้ดำเนินการจนเสร็จแล้วส่งเรื่องให้นายกฯ สังกัดปัจจุบันพิจารณาสั่งการ

          เมื่อ "ไล่สาย" กรณีคำถามตามหลักเกณฑ์เดิม (๒๕๔๕) จะมีคำตอบเป็น ๒ แนวทาง ดังนี่
          ๑. หากนายกฯ สั่งตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ผลเป็นวินัยไม่ร้ายแรง (ภาคทัณฑ์/ตัดเงินเดือน/ลดขั้นเงินเดือน) จึงออกคำสั่งลงโทษ แล้วรายงานไปยัง ก.จังหวัดเพื่อพิจารณา ซึ่ง ก.จังหวัดเห็นชอบ (หากมีการอุทธรณ์และยกอุทธรณ์ด้วย) กระบวนการทางวินัย..จบ
          ผู้ถูกลงโทษทุกคน (หรือบางคน) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ระหว่างนั้น ๑ คน ลาออกเมื่อ ๓๑ มี.ค.๒๕๖๐ อีก ๑ คน เกษียณอายุราชการเมื่อ ๓๐ ก.ย.๒๕๖๐ ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาเมื่อ ๔ ก.ย.๒๕๖๑ ว่า กระบวนการสอบสวนไม่ชอบ ให้นายกฯ ยกเลิกคำสั่งลงโทษแล้วให้ดำเนินการทางวินัยใหม่ให้ถูกต้อง จึงเป็นกรณีกระบวนการดำเนินการทางวินัยย่อมถือ "เป็นการเริ่มต้นใหม่" เทียบเคียงหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๐๗๐๙.๒/ป ๗๙๐ ลง ๑๐ พ.ย.๒๕๓๘
          ดังนั้น นายกฯ ต้องออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ แต่เนื่องจากมีข้าราชการบางรายได้ออกจากราชการไปแล้ว จึงต้องพิจารณาว่าพ้น ๑๘๐ วันหรือไม่ ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้นั้นได้อีก
          จากคำถาม จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ได้ เฉพาะผู้ที่อยู่ในราชการ เนื่องจากอีก ๒ ราย ออกจากราชการไปพ้น ๑๘๐ วันแล้ว
          ๒. ถ้าตั้งกรรมการสอบวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และนายกฯ ออกคำสั่งลงโทษอย่างไม่ร้ายแรง แล้ว ก.จังหวัดเห็นชอบ (หากมีการอุทธรณ์และยกอุทธรณ์ด้วย)..จบ
          ต่อมาศาลปกครองได้มีคำพิพากษา (เมื่อ ๔ ก.ย.๒๕๖๑ คดีถึงที่สุด) ให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษ แม้จะมีบางรายออกจากราชการไปแล้ว ก็ไม่จำต้องพิจารณาถึงประเด็น ๑๘๐ วันอีก เพราะเป็นการกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงมาแต่ต้น จึงไม่ต้องด้วยข้อ ๒๘ วรรคสอง ของหลักเกณฑ์วินัยใหม่

          ประเด็นคำถาม
          ๑. ใช้หลักเกณฑ์ใหม่แต่งตั้งกรรมการสอบสวน ถูกต้องหรือไม่
          ๒. ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วต้องสอบด้วย แล้วสั่งงดโทษ ใช่หรือไม่

          สรุป
          ๑. ถูกต้อง (เฉพาะผู้อยู่ในราชการ) ตามข้อ ๘๙ วรรคสอง ของหลักเกณฑ์ใหม่
          ๒. สอบผู้ออกไปแล้วไม่ได้ เพราะ
               (๑) พ้น ๑๘๐ วันนับแต่ออกจากราชการ (ถ้าเป็นวินัยร้ายแรง)
               (๒) เป็นการกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง จึงไม่ต้องด้วยข้อ ๒๘ ของหลักเกณฑ์ใหม่
          คำอธิบายดังข้างต้น
          ขอบคุณทุกความเห็น ครับ

คำถาม ๑๒/๙/๖๑

คำถาม  ๑๒/๙/๖๑
     ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์ประวิทย์ครับว่า กรณีเราสอบสวนและลงโทษตามหลักเกณฑ์วินัย ปี 45 ไปแล้ว หากต่อมาศาลปกครองเพิกถอนเหตุกระบวนการสอบสวนวินัยไม่ชอบภายหลังที่หลักเกณฑ์วินัยใหม่ 58 บังคับใช้แล้ว ขอเรียนถามว่า
     1.ในการสอบสวนใหม่ใช้หลักเกณฑ์ใหม่ ปี 58 เลยถูกต้องหรือเปล่าครับ
     2.ผู้ที่ออกไปแล้วระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง (คำพิพากษา 4 ก.ย.61 คดีถึงที่สุด ลาออก 31 มี.ค.60/เกษียณ 30 ก.ย.60) จะต้องถูกสอบสวนใหม่ด้วย แต่ตอนลงโทษ หากเป็นวินัยไม่ร้ายแรงให้งดโทษไว้ ถูกหรือเปล่าครับ ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๑
                                   ๑๑ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๒
        การรายงานการดำเนินการทางวินัย (ต่อ)


          อธิบาย (ต่อ)         
          ๖. เมื่อ ก.จังหวัดพิจารณาเห็นว่า
               (๑) การลงโทษ การงดโทษ หรือการสั่งยุติเรื่อง
                     ๑) เป็นการไม่ถูกต้อง
                     ๒) เป็นการไม่เหมาะสม
               (๒) และมีมติเป็นประการใด
               (๓) ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นตามนั้น
           ๗. การพิจารณาของอนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี ต้องแสดงเหตุผลให้ปรากฏเป็นหนังสือไว้ในรายงานการประชุมด้วย เช่น
               (๑) เห็นชอบ ตามความเห็นของ......เพราะเหตุใด
               (๒) ไม่เห็นชอบ ตามความเห็นของ......เพราะเหตุใด
               (๓) การสอบสวนไม่หมดประเด็น ได้แก่
                     ๑).........
                     ๒).........
               จึงให้สอบเพิ่มเติมในประเด็น....... เป็นต้น
          ๘. กรณีผู้บริหารท้องถิ่น ได้สั่ง
               (๑) ลงโทษ
               (๒) เพิ่มโทษ
               (๓) ลดโทษ
               (๔) งดโทษ
               (๕) ยกโทษ
               (๖) ยุติเรื่อง
               (๗) ให้ออกจากราชการ เพราะไม่เลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
               (๘) ให้ออกจากราชการ เพราะ
                     ๑) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                     ๒) บกพร่องต่อหน้าที่ราชการ
                     ๓) ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
               ให้รายงานต่อ ก.จังหวัดเพื่อทราบ
          ๙. เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น ได้มีคำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ
              (๑) ถ้าเพิ่มโทษ เป็นสถานโทษที่หนักขึ้น ลดโทษ เป็นสถานโทษที่เบาลง งดโทษ ยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิม ให้เป็นอันยกเลิก
              (๒) ถ้าลดโทษ เป็นอัตราโทษที่เบาลง อัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก
              (๓) ในกรณีคำสั่งโทษตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิก
                    ๑) ให้คืนเงินเดือนที่ตัด/ลดไว้ตามคำสั่งนั้น
                    ๒) ให้แก่ผู้ถูกสั่งลงโทษ         


          ตัวบท
          (อนุวินัย/ก.จังหวัด ให้สอบเพิ่ม)
          ข้อ ๘๘ เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นได้ดำเนินการทางวินัย หรือพิจารณาลงความเห็นให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดออกจากราชการในเรื่องใด ถ้าอนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคล พ.ศ.๒๕๔๒ ก็ให้มีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบไปให้ผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บริหารท้องถิ่นได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย
          ในการสอบสวนเพิ่มเติม ถ้าอนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี  พิจารณาเห็นเป็นการสมควรส่งประเด็นหรือข้อสำคัญใดที่ต้องการทราบไปสอบสวนพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่ หรืออยู่นอกอำนาจของ ก.จังหวัด ก็ให้กำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญนั้นไปเพื่อขอให้ผู้บริหารท้องถิ่น หรือหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นทำการสอบสวนแทนได้ และให้นำข้อ ๖๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          ในกรณีผู้บริหารท้องถิ่นส่งประเด็นหรือข้อสำคัญตามวรรคสอง ไปเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น (สังกัดอื่น)  หัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้น ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ในเรื่องเกี่ยวกับกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดอย่างร้ายแรง ตามข้อ ๒๖ วรรคหก ให้นำการสอบสวนพิจารณาตามหมวด ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          เมื่อความปรากฏแก่ ก.กลาง (ก.จ., ก.ท., ก.อบต.) ว่าการดำเนินการทางวินัยของผู้บริหารท้องถิ่นใด หรือการพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยของ ก.จังหวัดแห่งใด ขัดแย้งกับมาตรฐานทั่วไปนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ต่อไป

          อธิบาย
          เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น ได้
          ๑. ดำเนินการทางวินัย หรือ
          ๒. ลงความเห็นให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดออกจากราชการ
          ถ้าอนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี
          ๑. เห็นสมควรสอบเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์
              (๑) แห่งความเป็นธรรม
              (๒) ในการกำกับดูแลข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.บุคคลฯ ปี ๒๕๔๒
          ๒. ให้กำหนดประเด็น/หัวข้อสำคัญส่งให้ผู้บริหารท้องถิ่นแจ้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมสอบสวนเพิ่มเติมได้
          ๓. อนุวินัย หรือ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี อาจขอให้มีการรวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่ได้เช่นเดียวกับคณะกรรมการสอบสวน โดยเป็นผู้ส่งประเด็นหรือข้อสำคัญเอง
          ๔. การรวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่ของผู้บริหารท้องถิ่น ให้นำหลักการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
          ๕. เมื่อความปรากฏแก่ ก.กลาง ไม่ว่าทางใดก็ตาม ว่า
               (๑) การดำเนินการทางวินัยของผู้บริหารท้องถิ่นแห่งใด หรือ
               (๒) การพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยของ ก.จังหวัดแห่งใด
               ขัดแย้งกับมาตรฐานทั่วไปนี้
          ก.กลาง ต้องพิจารณาตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.บุคคลฯ ปี ๒๕๔๒ กล่าวคือ
          ๑. ให้ผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ก.จังหวัด แก้ไขภายในเวลาอันสมควร
          ๒. ถ้า
               (๑) ผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ก.จังหวัด ไม่แก้ไขภายในเวลาอันสมควร หรือ
               (๒) จะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
               ให้ ก.กลางสั่งระงับหรือเพิกถอนได้
                 

          ตัวบท
          (บทเฉพาะกาล)
          ข้อ ๘๙ ในกรณีมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๔ โดยอนุโลมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนการพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปนี้
          ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาจากข้าราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือข้าราชการตามกฏหมายอื่นผู้ใด มีกรณีกระทำผิดอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น (นั้น) ให้ผู้บริหารท้องถิ่นดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามมาตรฐานทั่วไปนี้ ส่วนการดำเนินการเพื่อปรับบทความผิดและการสั่งลงโทษ ให้ดำเนินการตามกฏหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะกระทำผิด
          กรณีเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอน ก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปจนแล้วเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บริหารท้องถิ่นสังกัดปัจจุบันพิจารณาดำเนินการตามวรรคหนึ่ง

          อธิบาย
          บทเฉพาะกาล มี ๓ กรณี คือ
          ๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ (ก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙)
              (๑) ให้คณะกรรมการทำการสอบสวนตามมาตรฐานทั่วไปเดิม (ฉบับลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๔)
จนกว่าจะแล้วเสร็จ
              (๒) ส่วนการพิจารณาสั่งการ ให้ดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปนี้ (หมายถึงการพิจารณาสั่งการของผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึง ก.จังหวัด)
          ๒. ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใด
               (๑) ทำผิดอยู่ก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙ หรือ
               (๒) โอนมาจากสังกัดอื่น ก่อน ๑ มกราคม ๒๕๕๙
               ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสอบสวนพิจารณาตามมาตรฐานทั่วไปนี้
               ส่วนการปรับบทความผิดและปรับสถานโทษ ให้อ้างกฎหมายขณะกระทำผิด
          ๓. กรณีมีการสืบสวน/สอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอน
               (๑) ให้สืบสวน/สอบสวนต่อไปจนแล้วเสร็จ
               (๒) จากนั้นต้องส่งเรื่องให้ผู้บริหารท้องถิ่นสังกัดปัจจุบันพิจารณาสั่งการ

          เป็นอันครบถ้วนทั้ง ๘๙ ข้อ จะเห็นว่ามีรายละเอียดมากมาย และมีความซับซ้อนอยู่บ้าง ดังนั้น จึงแนะนำว่าเมื่อประสงค์จะศึกษาเฉพาะส่วน เพื่อนำไปปฏิบัติทันที สามารถศึกษาเฉพาะหัวข้อนั้น ๆ ซึ่งสอนไปแล้วในแต่ละครั้ง สรุปสาระสำคัญตามหัวข้อ ได้ดังนี้

          - ฐานความผิดทางวินัย ๑๘ ฐาน ข้อ ๖-๒๓ (ครั้งที่ ๕-๙/๒๕๖๑)
          - ก่อนดำเนินการทางวินัย ข้อ ๒๔-๒๕ (ครั้งที่ ๑๐-๑๑)
          - หลักการดำเนินการทางวินัย ข้อ ๒๖ (ครั้งที่ ๑๑-๑๒)
          - อำนาจหน้าที่กรรมการสอบสวน ข้อ ๒๗
          - ดำเนินการทางวินัยผู้ที่ออกจากราชการไปแล้ว ข้อ ๒๘ (ครั้งที่ ๑๒)
          - สั่งพักราชการ/สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระหว่างถูกสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ ๒๙ (ครั้งที่ ๑๓)
          - กันและคุ้มครองพยาน ข้อ ๓๐-๔๔ (ครั้งที่ ๑๓-๑๔)
          - การกระทำที่ปรากฏชัดแจ้ง ข้อ ๔๕-๔๗ (ครั้งที่ ๑๔-๑๕)
          - สอบสวนพิจารณา ข้อ ๔๘ (ครั้งที่ ๑๕)
          - องค์ประกอบ/คุณสมบัติคณะกรรมการสอบสวน ข้อ ๔๙ (ครั้งที่ ๑๖)
          - ข้อความที่ต้องระบุในคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวน (สว.๑) ข้อ ๕๐
          - แจ้ง สว.๑ ข้อ ๕๑
          - ประชุมครั้งแรก ข้อ ๕๒
          - องค์ประชุมและการลงมติ ข้อ ๕๓ (ครั้งที่ ๑๗)
          - คัดค้านและสั่งคำคัดค้านกรรมการสอบสวน ข้อ ๕๔-๕๕ (ครั้งที่ ๑๘-๑๙)       
          - การเปลี่ยนแปลงคำสั่ง สว.๑ (ไม่ใช่ยกเลิก) ข้อ ๕๖
          - หน้าที่กรรมการสอบสวน ข้อ ๕๗
          - ระยะเวลาการสอบสวน ข้อ ๕๘ (ครั้งที่ ๑๙)
          - ใช้พยานหลักฐาน ข้อ ๕๙
          - แจ้ง สว.๒ ข้อ ๖๐ (ครั้งที่ ๒๐)
          - แจ้ง สว.๓ ข้อ ๖๑ (ครั้งที่ ๒๑)
          - รวบรวมพยานหลักฐาน/ชี้แจงเพิ่มเติม ข้อ ๖๒-๖๓
          - เน้นองค์ประชุม ข้อ ๖๔
          - ข้อห้าม/วิธีสอบปากคำ ข้อ ๖๕-๖๖
          - ตัด/งดพยาน ข้อ ๖๗-๖๘ (ครั้งที่ ๒๒)
          - รวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่ ข้อ ๖๙
          - สอบพบเรื่องอื่น ข้อ ๗๐
          - ผลสอบพาดพิงผู้อื่น ข้อ ๗๑
          - สอบหย่อน/บกพร่อง/ประพฤติไม่เหมาะ แล้วพบวินัย ข้อ ๗๒ (ครั้งที่ ๒๓)
          - นำคำพิพากษามาใช้ ข้อ ๗๓
          - โอนสังกัดระหว่างสอบสวน ข้อ ๗๔
          - กรรมการประชุมลงมติ ข้อ ๗๕
          - จัดทำ สว.๖ ข้อ ๗๖ (ครั้งที่ ๒๔)
          - ผู้บริหารท้องถิ่นตรวจ/สั่งสำนวน ข้อ ๗๗ (ครั้งที่ ๒๕)
          - ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งสอบเพิ่ม ข้อ ๗๘
          - ผลสอบเสียทั้งหมด ข้อ ๗๙
          - ผลสอบเสียเฉพาะส่วน ข้อ ๘๐
          - กรรมการไม่แจ้ง สว.๓ ข้อ ๘๑
          - ไม่ทำสาระสำคัญ ผู้บริหารท้องถิ่นต้องสั่งให้ทำโดยเร็ว ข้อ ๘๒ (ครั้งที่ ๒๖)
          - นับระยะเวลา ข้อ ๘๓
          - ลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง ข้อ ๘๔
          - ลงโทษวินัยร้ายแรง ข้อ ๘๕ (ครั้งที่ ๒๗)
          - วิธีออกคำสั่งลงโทษ ข้อ ๘๖ (ครั้งที่ ๒๘)
          - ก.จังหวัดพิจารณา ข้อ ๘๗ (ครั้งที่ ๒๙)
          - อนุวินัย/ก.จังหวัด สั่งสอบเพิ่ม ข้อ ๘๘
          - บทเฉพาะกาล ข้อ ๘๙ (ครั้งที่ ๓๐)
                                                   
       
                                       สวัสดี
 
----------
          - มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.๒๕๕๘.

คำถาม ๑๐/๙/๖๑

                                 
      คำถาม  ๑๐/๙/๖๑
เรียนอาจารย์
กรณี ปปช.ชี้มูลความผิดฐานวินัยวินัยร้ายแรง โดยไม่กำหนดโทษ จะลงโทษปลดออกได้ไหมครับ ข้อเท็จจริง สตง.เข้าตรวจสอบเทศบาล พบว่าต้องคืนเงินประมาณ 90,000 บาท ต่อมานายก/คลัง/ช่าง/จนท. ได้ประชุมกันหาเงินคืนคลังตาม สตง. จึงมีมติซื้อวัสดุซ่อมแซมถนนโดยไม่มีของแล้วเบิกเงินคืนคลังตามข้อเสนอ สตง. ไม่นาน สตง.เข้าตรวจเพราะมีคนร้อง ปรากฎไม่มีของตามร้อง สตง.รายงาน ปปช.ดำเนินแพ่ง อาญา วินัย กับ กก.ตรวจรับ ผอ.คลัง ปรากฎว่าคลังรอด แต่ กก.ตรวจรับวินัยร้ายแรง อาญา/แพ่ง ขอเรียนว่าทุกคนเป็นคนดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ หรือประสบการณ์อะไรก็แล้วแต่ ผมเคยร่วมงานกับบุคคลเหล่านี้จึงอยากช่วยเหลือ ซึ่งระหว่างอยู่ด้วยกันผมพยายามช่วยเหลือแต่เรื่องเข้าสู่การไต่สวน ปปช.แล้ว เป็นห่วงและเห็นใจมากครับเพราะเป็นเหมือนโทษประหารชีวิต จึงขอปรึกษาแนวทางเพื่อลดโทษเป็นปลดออก หนังสือพึ่งมาถึงเทศบาล อยู่ระหว่างรายงาน ก. ครับ ขอแนวทางจากท่านผู้รู้ กูรู ทุกท่านด้วยครับ(กก.คนหนึ่งป่วยอยู่ระหว่างปลูกถ่ายตับ ยังไม่ทราบเรื่อง คนหนึ่งลาออกเมื่อ พค. อีกคนถือว่าเป็นคนทำงานของเทศบาลให้ขับเคลื่อนไป)

ตอบ
          การใช้กฎหมายในปัจจุบันของบ้านเรา ซึ่งถือเป็น "นิติรัฐ" (Rechtsstaat) หมายถึง รัฐที่ปกครองด้วยกฏหมายนั้น นักกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย มักเป็นปฏิฐานนิยม (postivism) คือ ผู้ยึดทฤษฎีที่ว่าความรู้ได้จากการรับโดยตรงมากกว่าการเทียบเคียง กล่าวคือ "ตีความตามตัวบทอย่างเคร่งครัด" นั่นเอง เพราะการยึดถือดังกล่าวมีผลดีอย่างน้อย ๒ ประการ คือ
          ๑. ไม่ยุ่งยาก หากต้องตัดสินใจ เมื่อข้อเท็จจริงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย
          ๒. ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะได้ดำเนินการตรงไปตรงมาตามกฎหมายแล้ว
           แต่อย่างไรก็ตาม หลักหนึ่งที่ถูกมองข้ามคือ "หลักกฎหมายธรรมชาติ" มีคำกล่าวว่า กฎหมายที่ดีต้องอิงกฎธรรมชาติ ธรรมชาติของมนุษย์ คือ เป็นสัตว์สังคม (Social animals) สังคมที่ต้องการอยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อย ร่มเย็น และเป็นธรรม นั่นคือกฎพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์
          จะสังเกตเห็นว่า หลายทศวรรษที่ผ่านมา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตรากฏหมายมีเจตนาอย่างหนึ่ง แต่หลายคราที่ผู้บังคับใช้กฎหมายกลับตีความไปอีกแบบ มีให้เห็นเป็นประจำ ซึ่งคงต้องใช้เวลาให้ "ตกผลึก" อีกสักระยะหนึ่งเสียก่อน อาจดีขึ้น โปรดอย่าถาม.. "แล้วเมื่อไหร่ล่ะ ?"...ตอบไม่ได้จริง ๆ !!!

          ประเด็นคำถาม
          จะช่วยเขาอย่างไร เมื่อถูก ป.ป.ช.ชี้มูลวินัยร้ายแรง

          สรุปสั้น
          ช่วยบอกเขาว่า ขอให้ "ทำใจ" และตั้งสติให้ดี

          ขยายความ
          ข้อที่จริงที่เล่าถึงทางตัน จำต้องปล่อยไปตามกระบวนการ แต่ทุกท่านในคำถามคงต้องใช้สิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายอย่างเข้มข้น โดยเมื่อ ก.จังหวัดพิจารณามีมติให้ลงโทษสถานใด เช่น ป.ป.ช.ชี้มูล
          ๑. ฐานทุจริต ต้องไล่ออก ตามมติ ครม.เมื่อ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๓๖ (ปลดไม่ได้)
          ๒.ฐานอื่น จะปลดออกหรือไล่ออกก็ได้ (ตามมาตรฐานการลงโทษ)
          ผู้ใช้อำนาจนายกฯ ต้องออกคำสั่งลงโทษตามนั้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย (พ.ศ.๒๕๕๘/๒๕๕๙) ข้อ ๘๕ วรรคหนึ่ง แล้วส่งคำเนาคำสั่งลงโทษไปยัง ป.ป.ช.ตามกฎหมายนั้น
          หลังจากผู้ถูกลงโทษรับทราบคำสั่งแล้วจะเกิดสิทธิในการยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ ก.จังหวัด ภายใน ๓๐ วัน นับแต่ลงนามรับทราบคำสั่งลงโทษ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นบ้างก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเหตุผลและคำอธิบายที่มีน้ำหนักและชอบด้วยกฎหมาย
          จะอย่างไรก็ดี กฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับปัจจุบัน ได้เปิดช่องให้ผู้ถูกลงโทษสามารถนำคดีฟ้องต่อศาลได้โดยไม่ต้องยื่นอุทธรณ์ก่อน หากการถูกลงโทษในเรื่องนั้นเกิดจากการชี้มูลของ ป.ป.ช. ตามมาตรา ๑๐๑ แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑
          และไม่ว่าผู้ถูกลงโทษ จะอุทธรณ์คำสั่งลงโทษหรือไม่ก็ตาม ด่านสุดท้ายยังมีศาลปกครอง ที่จะเป็นที่พึ่งให้แก่ผู้ที่มั่นใจว่าตนเองไม่ผิด หรือผิดบ้างแต่ไม่ควรเป็นวินัยอย่างร้ายแรง
          ดังนั้น ขอให้ช่วยบอกท่านเหล่านั้นว่า "อย่าตัดช่องน้อยแต่พอตัว" เมื่อชีวิตยังไม่สิ้นต้องดิ้นต่อ เพราะยังมีองค์กรที่จะดูแลให้ความเป็นธรรม (ถ้ามั่นใจว่าไม่ผิด หรือผิดไม่หนักดังถูกลงโทษ) ดังกล่าวแล้ว
          ซึ่งมีแนวทางการต่อสู้ตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรม (ถ้าคิดว่าไม่ยุติธรรม) ขอให้ตั้งสติให้มั่น ค่อย ๆ คิดแล้วจะพบทางออกเอง
          ทั้งนี้ ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า การชี้มูลของ ป.ป.ช.เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ในกฎหมาย ป.ป.ช. หากไต่สวนแล้วพบความผิด แต่ไม่ชี้มูล ป.ป.ช.จะกลายเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า ผู้ถูกตรวจสอบส่วนหนึ่งเกิดอาการ "หลวม" เพราะห่างเหินจากระเบียบวินัยไปบ้าง จึงต้องมานั่งปวดหัวใจและทุกข์ทรทานอย่างที่กำลังเป็น
          ขอให้ใจเย็น ๆ (ลดการ "มโน" ให้มาก ) ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ และนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป "ต้องไม่พลาด" อีก ขอให้ยึดระเบียบกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติราชการ ปลอดภัยอย่างแน่นอน
          ขอบคุณทุกการแชร์ครับ       

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๑
                                   ๖ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๑
                    การลงโทษทางวินัย (ต่อ)
               
                       
          อธิบาย
          วิธีการลงโทษข้าราชการท้องถิ่น ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นที่สั่งลงโทษ ต้องสั่งลงโทษ
          ๑. ให้เหมาะสมกับความผิด
          ๒. มิให้เป็นไปโดย
               (๑) พยาบาท
               (๒) อคติ
               (๓) โทสจริต
               (๔) ลงโทษผู้ไม่มีความผิด
          ๓. ในคำสั่งลงโทษ ต้องแสดงให้ชัดเจนว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัย โดย
               (๑) มีข้อเท็จจริงที่ได้จาก
                     ๑) การสอบสวน
                     ๒) พยานหลักฐาน
                     ๓) เหตุผลที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
                     อย่างไร
                     ๔) เป็นการกระทำผิดวินัยกรณีใด
                     ๕) ตามข้อใด
          ๔. วิธีการออกคำสั่งลงโทษ
               (๑) ให้ทำเป็นคำสั่ง
               (๒) ระบุสิทธิในการอุทธรณ์
               (๓) ระบุระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์
               ไว้ในคำสั่งด้วย

          วิธีการออกคำสั่งลงโทษ จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
          ๑. ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน
              (๑) ที่ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งเอง
              (๒) ที่ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งตามมติ ก.จังหวัด
              (๓) ห้ามมิให้สั่งลงโทษให้มีผลย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่งลงโทษ เว้นแต่
                     ๑) ถูกสั่งพักราชการ หรือ
                     ๒) ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
                     ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่/กลับเข้ารับราชการก่อน แล้วจึงออกคำสั่งลงโทษ ณ วันที่ปัจจุบัน ทั้งนี้ ให้มีผลในเดือนถัดไป (โดยไม่ต้องระบุวันที่)
              ภาคทัณฑ์ ใช้แบบ ลท.๑
              ตัดเงินเดือน ใช้แบบ ลท.๒
              ลดขั้นเงินเดือน ใช้แบบ ลท.๓

          ๒. ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
               (๑) ห้ามมิให้ออกคำสั่งให้มีผลย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่
                     ๑) ถูกสั่งพักราชการ หรือ
                     ๒) ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
                     ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งปลดออก/ไล่ออก ตั้งแต่วันพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้น แล้วแต่กรณี
                     ๓) กรณีขาดราชการติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วัน และไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย ให้ไล่ออก (ห้ามปลด) ตั้งแต่วัน (เริ่ม) ละทิ้งหน้าที่ราชการนั้น (ประกอบมติ ครม.เมื่อ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๓๖ ตาม ว.๒๓๔ ลง ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๖)
                     ๔) กรณีกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด ปกติต้องสั่งให้มีผล ตั้งแต่
                          ก. วันต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด หรือ
                          ข. วันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด
                          ค. วันถูกคุมขังติดต่อกันจนถึงวันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด
                          แล้วแต่กรณี
                    ๕) กรณีต้องออกคำสั่งใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่
                         ก. ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันออกคำสั่งเดิม
                         ข. ถ้าวันออกตามคำสั่งเดิมไม่ถูกต้อง ต้องสั่งให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องออกตามกรณีนั้นในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
                     ๖) กรณีออกจากราชการไปแล้วเพราะเหตุอื่นซึ่งไม่ใช่โทษทางวินัย ถ้าจะต้องสั่งใหม่หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นลงโทษปลด/ไล่ออกจากราชการ ต้องสั่งให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ควรลงโทษตามกรณีนั้นขณะที่ออกคำสั่งเดิม
                    ๗) กรณีผู้นั้น
                         ก. ถูกสั่งลงโทษปลด/ไล่ออก (ในกรณีอื่น)
                         ข. ถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น
                         ค. ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ
                         ไปก่อนแล้ว
                     ให้สั่งลงโทษปลด/ไล่ออก ย้อนหลังไปถึงวันออกจากราชการนั้น
                     ๘) กรณีเกษียณอายุราชการ ต้องสั่งให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์
                     ๙) กรณีใดที่มีเหตุสมควรสั่งลงโทษย้อนหลัง ให้สั่งปลด/ไล่ออกจากราชการย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องออกตามกรณีนั้นได้ แต่ต้องไม่ทำให้เสียประโยชน์ตามสิทธิอันชอบธรรมของผู้ถูกสั่งลงโทษนั้น   
               ปลดออก/ไล่ออก ใช้แบบ ลท.๔

               (๒) การสั่งเพิ่มโทษ หรือลดโทษ เป็นไล่ออกหรือปลดออก ให้สั่งตาม (๑) โดยอนุโลม

               (๓) การสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ เป็นลดขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ ต้องสั่งให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งลงโทษเดิมใช้บังคับ แต่ไม่กระทบสิทธิและประโยชน์ที่ผู้นั้นรับไปแล้ว

               (๔) การสั่งลดโทษปลด/ไล่ออกจากราชการ เป็นลดขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ ๑ โดยอนุโลม

               (๕) คำสั่งเพิ่ม/ลด/งด/ยกโทษ ตามมติ ก.จังหวัด ให้ใช้แบบ ลท.๕

               (๖) คำสั่งยก/งด/ลด/เพิ่มโทษ ตามมติ ก.จังหวัดที่พิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งเป็นกรณีวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ใช้แบบ ลท.๖

               (๗) คำสั่งยก/งด/ลด/เพิ่มโทษ ตามมติ ก.จังหวัดที่พิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งเป็นวินัยอย่างร้ายแรง และสั่งให้กลับเข้ารับราชการ ให้ใช้แบบ ลท.๗

               (๘) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในคำสั่งลงโทษ
                     ๑) ให้ทำคำสั่งเป็นอีก ๑ คำสั่ง
                     ๒) มีสาระสำคัญแสดงเลขที่ วัน เดือน ปี ที่ออกคำสั่งเดิม
                     ๓) ข้อความเดิมตอนที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง
                     ๔) ข้อความที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว



                                  บทที่ ๑๒
            การรายงานการดำเนินการทางวินัย


          ตัวบท
          (การพิจารณาของ ก.จังหวัด)
          ข้อ ๘๗ เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่น โดยสั่งลงโทษ หรืองดโทษ ตามข้อ ๘๔ หรือสั่งยุติเรื่องแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดแล้ว ให้รายงานไปยัง ก.จังหวัดเพื่อส่งเรื่องให้อนุวินัยตามข้อ ๘๕ วรรคสาม ทำความเห็นเสนอ และ ก.จังหวัดต้องพิจารณามีมติให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่เลขานุการ ก.จังหวัดได้รับรายงานการดำเนินการทางวินัยจากผู้บริหารท้องถิ่น
          ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็นซึ่งอนุวินัย และ ก.จังหวัด ไม่อาจพิจารณามีมติให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ขยายระยะเวลาได้ไม่เกินสองครั้ง ๆ ละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในรายงานการประชุมด้วย
          ก.จังหวัด อาจมีมติในคราวเดียวให้เลขานุการ ก.จังหวัดส่งรายงานการดำเนินการทางวินัยไปให้อนุวินัยทำความเห็นเสนอ ก่อนการพิจารณาและมีมติของ ก.จังหวัดก็ได้
          เมื่อ ก.จังหวัดพิจารณาเห็นว่าการลงโทษ หรืองดโทษ หรือสั่งยุติเรื่อง ตามวรรคหนึ่ง เป็นการไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม และมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
          การพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยของอนุวินัย หรือของ ก.จังหวัด แล้วแต่กรณี ต้องแสดงเหตุผลให้ปรากฏเป็นหนังสือในรายงานการประชุมด้วย
          ในกรณีผู้บริหารท้องถิ่นได้สั่งลงโทษ เพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ หรือสั่งยุติเรื่อง ตามข้อ ๘๕ วรรคหนึ่ง ของมาตรฐานทั่วไปนี้ หรือสั่งให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดออกจากราชการ ตามข้อ ๖ (๔) หรือข้อ ๗ ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ พ.ศ.๒๕๕๘ ให้รายงานการดำเนินการทางวินัย หรือการสอบสวน หรือการให้ออกจากราชการต่อ ก.จังหวัดเพื่อทราบ
          เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นได้มีคำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ถ้าเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้น หรือลดโทษเป็นสถานโทษที่เบาลง หรืองดโทษ หรือยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิมให้เป็นอันยกเลิก ถ้าลดโทษเป็นอัตราโทษที่เบาลง อัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก ในกรณีที่คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิก ให้คืนเงินเดือนที่ได้ตัด หรือลดลงไปแล้วตามคำสั่งที่เป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนเกินที่เป็นอันยกเลิกนั้นให้แก่ผู้ถูกลงโทษ

          อธิบาย
          เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดไปแล้ว โดยสั่ง
          ๑. ลงโทษ
          ๒. งดโทษ
          ๓. ยุติเรื่อง
          ผู้บริหารท้องถิ่นต้องรายงานไปยัง ก.จังหวัด ทุกเรื่อง

          เมื่อ ก.จังหวัดได้รับรายงานแล้ว
          ๑. ต้องส่งเรื่องให้อนุวินัย
          ๒. อนุวินัยต้องทำความเห็นเสนอ
          ๓. ระยะเวลาพิจารณาของอนุวินัย และ ก.จังหวัด รวมกัน ๙๐ วัน (ระยะเวลาเร่งรัด) นับแต่วันที่เลขานุการ ก.จังหวัด ได้รับเรื่องจากผู้บริหารท้องถิ่น
               (๑) เลขาฯ ก.จ.จ. ได้แก่ ปลัด อบจ.
               (๒) เลขาฯ ก.เมืองพัทยา ได้แก่ ปลัดเมืองพัทยา
               (๓) เลขาฯ ก.ท.จ./ก.อบต.จังหวัด ได้แก่ ท้องถิ่นจังหวัด
          ๔. กรณีมีเหตุผลจำเป็น ไม่อาจพิจารณามีมติให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน
               (๑) ให้ขยายเวลาได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง
               (๒) ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๓๐ วัน
               (๓) ต้องบันทึกในรายงานการประชุมเกี่ยวกับ
                     ๑) เหตุผลความจำเป็น
                     ๒) ระยะเวลาที่ขยาย
                     (โดยไม่ต้องขอต่อผู้ใด)
               (๔) ระยะเวลา ๙๐ วัน อนุวินัย และ ก.จังหวัดต้องถัวเฉลี่ยกันเอง (เป็นระยะเวลาเร่งรัด ไม่ใช่ระยะเวลาบังคับ)
          ๕. ก.จังหวัด
               (๑) อาจมีมติไว้ในคราวเดียว
               (๒) ให้เลขาฯ ก.จังหวัด
               (๓) ส่งรายงานการดำเนินการทางวินัย
               (๔) ให้อนุวินัยทำความเห็นเสนอ
               (๕) ก่อน ก.จังหวัดพิจารณามีมติก็ได้
               (๖) เป็นดุลพินิจ

          หมายเหตุ
          แม้จะเป็นดุลพินิจก็ตาม แต่ ก.จังหวัด ควรมีมติมอบหมาย ไม่เช่นนั้นจะล่าช้า ถ้าจะให้ ก.จังหวัดมีมติก่อนส่งเรื่องให้อนุวินัยทุกครั้ง เพราะมีระยะเวลาจำกัด (อนุอุทธรณ์ ก็เช่นเดียวกัน)
                           
         
                                       สวัสดี

----------
          - มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.๒๕๕๘.

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๑
                                   ๔ ก.ย. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                   ประวิทย์  เปรื่องการ


                                 
                                 บทที่ ๑๑
                    การลงโทษทางวินัย (ต่อ)

         
          อธิบาย
          เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงแล้ว ถ้า
          ๑. คณะกรรมการสอบสวน หรือ
          ๒. ผู้บริหารท้องถิ่น
          (แม้เพียงฝ่ายเดียว)
          เห็นว่าข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้น
          ๑. กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
          ๒. สมควรลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ

          มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
          ๑. ให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอเรื่องไปยัง ก.จังหวัดที่ผู้นั้นสังกัด (ในวันเสนอ)
          ๒. ให้ ก.จังหวัดส่งเรื่องนั้นให้อนุวินัยพิจารณาทำความเห็นเสนอ
          ๓. ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนสามารถลดโทษเหลือเป็นปลดออกได้ (ต่ำกว่าปลดไม่ได้ เพราะเป็นวินัยอย่างร้ายแรง)
          ๔. เมื่อ ก.จังหวัดมีมติเป็นประการใด ผู้บริหารท้องถิ่นต้องสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้น (แม้ผู้บริหารท้องถิ่นจะไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.จังหวัดก็ตาม)
          ๕. ผู้ถูกลงโทษปลดออกจากราชการ มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนลาออกจากราชการ

          อนุวินัยใน ก.จังหวัด ต้อง
          ๑. ไม่เป็นกรรมการใน ก.จังหวัด (ประเภทเดียวกัน)
          ๒. ไม่เป็นอนุอุทธรณ์ ใน ก.จังหวัด (ประเภทเดียวกัน)
          ๓. ให้ ก.จังหวัดแต่งตั้งจากบุคคล ดังต่อไปนี้
               (๑) รอง ผวจ./หน.ส่วนราชการประจำจังหวัดที่ ผวจ.มอบหมาย
               (๒) นอภ./หน.ส่วนราชการ/หน.หน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติงานในจังหวัด ๑ คน
               (๓) ผู้แทน อปท.ในจังหวัด (ประเภทเดียวกัน) ได้แก่
                      ๑) ผู้บริหารท้องถิ่น ๑ คน (อบจ.คือ รองฯ)
                      ๒) ข้าราชการท้องถิ่น ๑ คน
               (๔) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการบริหารงานบุคคล/ด้านการดำเนินการทางวินัย ๒ คน โดยต้อง
                      ๑) มีสัญชาติไทย
                      ๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๔๐ ปีบริบูรณ์
                      ๓) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
                      ๔) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท.
                      ๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                      ๖) ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น/ผู้บริหารท้องถิ่น
                      ๗) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่/ผู้มีตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง
                เป็นผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัดนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๑ ปี นับถึงวันเสนอชื่อ
               (๕) ข้าราชการกรม สถ. ๑ คน เป็นเลขานุการ (อบจ.ได้แก่ ขรก.อบจ.)
          ๔. การแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งของอนุวินัย ให้เป็นไปตามมติ ก.จังหวัด

           ปัจจุบันฝ่ายเลขานุการ ก.จังหวัดมีอัตรากำลังค่อนข้างจำกัด ในขณะที่มีรายงานการดำเนินการทางวินัยของ อปท.เป็นจำนวนมาก ประกอบกับมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.๒๕๕๘ ได้กำหนดระยะเวลาการพิจารณาของอนุวินัย+ก.จังหวัด เพียง ๙๐ วัน (ระยะวลาเร่งรัด) ก.กลาง จึงกำหนดมาตรการแก้ปัญหาไว้ กล่าวคือ
          ก.จังหวัด อาจ
          ๑. แต่งตั้ง หรือ
          ๒. มอบหมาย
          ให้เลขานุการคณะกรรมการสอบสวน (ชุดทำหน้าที่สอบ)
          ๑. เป็นผู้นำเสนอรายงานการดำเนินการทางวินัย ในการประชุมของ
               (๑) อนุวินัย หรือ
               (๒) ก.จังหวัด
               แล้วแต่กรณี
          ๒. เป็นผู้นำเสนอรายงานการดำเนินการทางวินัย (อาจรวมถึงเนื้อหาการอุทธรณ์) ในการประชุมของ
               (๑) อนุอุทธรณ์ หรือ
               (๒) ก.จังหวัด
               แล้วแต่กรณี
          ๓. เพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ (เป็นดุลพินิจ)     
          ๔. แต่ห้ามผู้นั้น
               (๑) พิจารณา หรือ
               (๒) แสดงความเห็น
               ในการประชุม   

          ในกรณี ก.จังหวัดมีมติแล้ว แต่ผู้บริหารท้องถิ่นยังมิได้ปฏิบัติตามมติ ปรากฏว่า ผู้จะถูกลงโทษตามมติ ก.จังหวัด ได้โอนไปสังกัดใหม่ (นอกเขตจังหวัด/ต่างประเภท อปท.) ต้องดำเนินการ ดังนี้
          ๑. ให้ ก.จังหวัดสังกัดเดิม
               (๑) ส่งรายงานการดำเนินการทางวินัย
               (๒) พร้อมทั้งมติของ ก.จังหวัด (สังกัดเดิม)
          ๒. ไปยัง ก.จังหวัดสังกัดใหม่ เพื่อพิจารณามีมติอีกครั้ง
          ๓. โดย ก.จังหวัดสังกัดใหม่ไม่ต้องส่งเรื่องให้อนุวินัย (สังกัดใหม่) พิจารณาทำความเห็นเสนออีก

          หมายเหตุ
          ๑. หากเป็นการโอนในเขตจังหวัดเดียวกัน/ประเภทเดียวกัน ผู้บริหารท้องถิ่นสังกัดใหม่ สามารถปฏิบัติตามมติได้
          ๒. แต่ถ้าเป็นการโอน
               (๑) ในเขตจังหวัดเดียวกัน แต่ต่างประเภท อปท.
               (๒) นอกเขตจังหวัด/ต่างประเภท อปท.
               (๓) นอกเขตจังหวัด/ประเภทเดียวกัน
          ให้ ก.จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการส่งเรื่อง (หากเรื่องค้างอยู่ที่ผู้บริหารท้องถิ่น ๆ นั้นต้องส่งเรื่องกลับมายัง ก.จังหวัดที่มีมติ และควรระบุสาเหตุที่ยังมิได้มีการสั่งหรือปฏิบัติตามมติให้ก.จังหวัดทราบด้วย)   
         
               
          ตัวบท
          (วิธีการออกคำสั่งลงโทษ)
          ข้อ ๘๖ การลงโทษข้าราชการส่วนท้องถิ่น ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด และมิให้เป็นไปโดยพยาบาท โดยอคติ หรือโดยโทสจริต หรือลงโทษผู้ที่ไม่มีความผิด ในคำสั่งลงโทษให้แสดงให้ชัดเจนว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยโดยมีข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวน พยานหลักฐาน และเหตุผลที่สนับสนุนข้อกล่าวหาอย่างไร เป็นการกระทำผิดวินัยกรณีใด ตามข้อใด
          การลงโทษตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นคำสั่ง และระบุสิทธิในการอุทธรณ์ และระยะเวลาการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งด้วย วิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษให้ดำเนินการดังต่อไปนี้       
          (๑) การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนเดือน ตามข้อ ๘๔ หรือข้อ ๘๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ห้ามมิให้สั่งลงโทษย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่การสั่งลงโทษผู้ถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามหมวด ๓ ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ พ.ศ.๒๕๕๘ และให้ทำคำสั่งตามแบบ ลท.๑ แบบ ลท.๒ หรือแบบ ลท.๓ ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
          (๒) การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ตามข้อ ๘๕ หรือการสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ จะสั่งให้มีผลตั้งแต่วันใดให้เป็นตามหมวด ๔ ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ พ.ศ.๒๕๕๘ และให้ทำคำสั่งดังกล่าวตามแบบ ลท.๔ ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
          (๓) การสั่งเพิ่มโทษ หรือลดโทษ เป็นไล่ออก หรือปลดออกจากราชการตามข้อ ๘๕ หรือเป็นโทษไล่ออก หรือปลดออกจากราชการตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ จะสั่งให้มีผลตั้งแต่วันใด ให้นำ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          (๔) การสั่งเพิ่มโทษ หรือลดโทษ เป็นลดขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งลงโทษเดิมใช้บังคับ ทั้งนี้ การสั่งย้อนหลังดังกล่าวไม่มีผลกระทบถึงสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ถูกสั่งลงโทษได้รับไปแล้ว
          (๕) การสั่งลดโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการตามข้อ ๘๕ หรือโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ เป็นลดขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ จะสั่งให้มีผลตั้งแต่วันใด ให้นำ (๑) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          (๖) คำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ตามข้อ ๘๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ให้ทำคำสั่งดังกล่าวตามแบบ ลท.๕ ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
          (๗) การสั่งยกโทษ งดโทษ ลดโทษ หรือเพิ่มโทษผู้อุทธรณ์ตามข้อ ๙ ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งเป็นกรณีผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ทำคำสั่งดังกล่าวตามแบบ ลท.๖ ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
          (๘) การสั่งยกโทษ งดโทษ ลดโทษ หรือเพิ่มโทษผู้อุทธรณ์ตามข้อ ๙ ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งเป็นกรณีผิดวินัยอย่างร้ายแรง และการสั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ ให้ทำคำสั่งดังกล่าวตามแบบ ลท.๗ ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
          (๙) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ ให้ทำเป็นคำสั่งมีสาระสำคัญแสดงเลขที่ และวัน เดือน ปี ที่ออกคำสั่งเดิม ข้อความเดิมตอนที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง และข้อความที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว
       
         
                                       สวัสดี

----------
          - มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.๒๕๕๘.

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๑
                                    ๓๐ ส.ค. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                    ประวิทย์ เปรื่องการ



                                 บทที่ ๑๐
                  การสอบสวนพิจารณา (ต่อ)


          ตัวบท
         (การนับระยะเวลาทางวินัย)
         ข้อ ๘๓ การนับระยะเวลาตามมาตรฐานทั่วไปนี้ สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา แต่ถ้าเป็นกรณีขยายเวลา ให้นับวันต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มระยะเวลาที่ขยายออกไป ส่วนเวลาสิ้นสุด ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา

          อธิบาย
          ระยะเวลาหรือเงื่อนเวลาทางวินัย มี ๒ ประเภท คือ
          ๑. ระยะเวลาบังคับ เมื่อพ้นแล้วไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ได้แก่
              (๑) การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่พ้นจากราชการไปแล้วเกิน ๑๘๐ วัน ออกคำสั่งแต่งตั้งไม่ได้ (ตามข้อ ๒๘ วรรคสอง)
              (๒) ผู้ถูกกล่าวหายื่นคำคัดค้านกรรมการสอบสวน เกิน ๗ วัน ไม่ได้ (ตามข้อ ๕๔ วรรคสอง)
              (๓) ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งคำคัดค้านเกิน ๑๕ วัน หรือ ก.จังหวัดพิจารณาคัดค้านเกิน ๓๐ วัน ไม่ได้ (ตามข้อ ๕๔ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก)
          ๒. ระยะเวลาเร่งรัด (นอกเหนือจากข้อ ๑) แม้จะพ้นระยะเวลาแล้วก็ต้องดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

          การนับระยะเวลา
          ๑. ระยะเวลาเริ่มต้น ให้นับถัดจากวันแรก (นับวันรุ่งขึ้น) เป็น ๑..๒..๓..เรื่อยไป
          ๒. ถ้าขยายเวลา ให้นับต่อจากวันสุดท้ายของเวลาเดิม
          ๓. ระยะเวลาสิ้นสุด ถ้าวันสุดท้ายตรงกับวันหยุดราชการ ให้นับวันเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้าย
          ๔. เมื่อเริ่มนับระยะวลาแล้ว ให้นับอย่างต่อเนื่อง จนกว่าการสอบสวนจะแล้วเสร็จ



                              บทที่ ๑๑
                     การลงโทษทางวินัย


          ตัวบท
          (ลงโทษวินัยอย่างไม่ร้ายแรง)
          ข้อ ๘๔ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี ให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อนซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
          ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือก็ได้
          กรณีการกระทำในเรื่องเดียวกัน แต่เป็นความผิดวินัยหลายฐานความผิด ให้สั่งลงโทษในสถานโทษที่หนักที่สุดเพียงสถานเดียวแห่งการกระทำนั้น
          ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจลงโทษตัดเงินเดือน และลดขั้นเงินเดือนข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งได้ ดังนี้
          (๑) ตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕ % และเป็นเวลาไม่เกิน ๓ เดือน
          (๒) ลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น

          อธิบาย
          ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บริหารท้องถิ่นออกคำสั่งลงโทษ ใน ๓ ระดับ ได้แก่
          ๑. ภาคทัณฑ์
          ๒. ตัดเงินเดือน
          ๓. ลดขั้นเงินเดือน
          ตามที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควร ให้เหมาะสมกับความผิด

          เหตุลดหย่อนโทษที่เป็นดุลพินิจของผู้สั่งลงโทษ เช่น
          ๑. เป็นผู้มีความประพฤติดี
          ๒. ไม่เคยกระทำผิดวินัยมาก่อน
          ๓. มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นเสมอมา
          ๔. ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพืเศษ เป็นประจำ
          ๕. เป็นผู้มีความโอบอ้อมอารีย์ต่อคนรอบข้างเป็นนิจ
          ๖. เป็นสนใจในการฝึกอบรมและนำความรู้กลับมาพัฒนางานในหน้าที่ได้ดีอย่างต่อเนื่อง
          เป็นต้น

          โทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะ
          ๑. กรณีผิดวินัยเล็กน้อย
          ๒. จะตัดเงินเดือน แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน

          โทษภาคทัณฑ์ เพราะเป็นความผิดวินัยเล็กน้อย แต่มีเหตุอันควรลดหย่อนโทษ จะ
          ๑. งดโทษ แล้ว
          ๒. ให้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือ (ด้วยวาจาไม่ได้) ก็ได้ เป็นดุลพินิจ
          สังเกตเห็นว่า ข้อนี้ได้ตัดคำว่า "ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ" จากของเดิมทิ้งไป เนื่องจากข้าราชการฝ่ายพลเรือน คือ ข้าราชการตำรวจ และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เท่านั้น ที่จะมีกฎว่าด้วย "ทำทัณฑ์บน" เช่น ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง แต่ข้าราชการประเภทอื่นไม่มีโทษเหล่านี้ โดยเฉพาะข้าราชการส่วนท้องถิ่น

          การว่ากล่าวตักเตือน มี ๒ ประเภท คือ
          ๑. การว่ากล่าวตักเตือนทางวินัย (ตามข้อ ๘๔ นี้) ต้องรายงานไป ก.จังหวัด ซึ่งอาจมีมติให้ลงโทษก็ได้ เพราะการว่ากล่าวตักเตือน ไม่เป็นโทษทางวินัย
          ๒. การว่ากล่าวตักเตือนทางบริหาร ไม่ต้องรายงานไป ก.จังหวัด (อาจไม่มีการสอบสวน และไม่ควรมีคำว่า "ผิดวินัย" ในบันทึก) ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น สามารถกระทำได้ในหน้าที่ของตน ไม่มีผลกระทบทางกฎหมาย และมิได้เกิดจากกฎหมายบุคคล)

          การกระทำความผิดในเรื่องเดียว แต่บางครั้งอาจเข้าองค์ประกอบหลายฐานความผิด ลักษณะนี้ให้ลงโทษเพียงบทเดียวที่หนักที่สุด เช่น
          พฤติกรรมเดียว แต่ผิดวินัย
          ๑. ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ เห็นควรลงโทษภาคทัณฑ์
          ๒. ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา เห็นควรลงโทษตัดเงินเดือน ๕ % เป็นเวลา ๓ เดือน
          ๓. ประพฤติชั่ว เห็นควรลงโทษลดขั้นเงินเดือน ๑ ขั้น
          เป็นต้น
          กรณีนี้ต้องออกคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือน ๑ ขั้น ในพฤติกรรมที่กระทำผิดวินัยในเรื่องเดียวนั้น

          ในกรณีที่เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจลงโทษเกี่ยวกับเงิน ดังนี้
          ๑. ตัดเงินเดือนครั้งหนึ่ง ไม่เกิน ๕ % ไม่เกิน ๓ เดือน (ตัดน้อยกว่านี้ได้)
          ๒. ลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่ง ไม่เกิน ๑ ขั้น (ลดน้อยกว่านี้ได้ หากพิจารณาถึงความเหมาะสมกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ๒ ครั้ง/ปี จะลดครึ่งขั้นก็ได้ เพราะก่อนนั้นเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ ๑ ครั้ง)


          ตัวบท
          (ลงโทษวินัยอย่างร้ายแรง)
          ข้อ ๘๕ ในกรณีคณะกรรมการสอบสวนที่แต่งตั้งตามข้อ ๒๖ วรรคหก หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี เห็นว่าข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง สมควรลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอ ก.จังหวัดเพื่อส่งเรื่องให้อนุวินัยซึ่งผู้นั้นสังกัดอยู่พิจารณาทำความเห็นเสนอ ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลงโทษต่ำกว่าปลดออกจากราชการ และเมื่อ ก.จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
          ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามข้อนี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
          อนุวินัยตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เป็นกรรมการใน ก.จังหวัด หรืออนุอุทธรณ์ ตามข้อ ๙ วรรคสาม ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๕๘ และให้ ก.จังหวัดแต่งตั้งจากบุคคล ดังต่อไปนี้
          (๑) รองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นประธาน
          (๒) นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัด จำนวนหนึ่งคน
          (๓) ผู้แทน อปท.ในจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยรองผู้บริหารท้องถิ่น จำนวนหนึ่งคน และข้าราชการส่วนท้องถิ่น จำนวนหนึ่งคน (แยกแต่ละประเภทของ อปท.)
          (๔) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ จำนวนสองคน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ด้านการบริหารงานบุคคล หรือด้านการดำเนินการทางวินัย
          (๕) ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หนึ่งคนเป็นเลขานุการ (ตามประเภท คือ ก.จ.จ. และ ก.เมืองพัทยา ส่วน ก.ท.จ.และ ก.อบต.จังหวัด มีข้าราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัด เป็นเลขานุการ)
          การแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปมติ ก.จังหวัด
          ก.จังหวัดอาจแต่งตั้งหรือมอบหมายเลขานุการกรรมการสอบสวนให้เป็นผู้นำเสนอรายงานการดำเนินการทางวินัยในการประชุมของอนุฯ หรือของ ก.จังหวัด เพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ผู้นั้นพิจารณาหรือแสดงความเห็นในการประชุม
          กรณี ก.จังหวัดมีมติแล้ว แต่ยังมิได้มีการปฏิบัติตามมติ ผู้จะถูกลงโทษได้โอนไปสังกัดใหม่ ให้ ก.จังหวัดสังกัดเดิมส่งรายงานการดำเนินการทางวินัย พร้อมมติไปยัง ก.จังหวัดสังกัดใหม่เพื่อพิจารณาดำเนินการตามวรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องส่งเรื่องให้อนุวินัยสังกัดใหม่พิจารณาทำความเห็นเสนออีก

          หมายเหตุ
          ๑. ก.จังหวัด ได้แก่
              (๑) คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.จ.)
              (๒) คณะกรรมการพนักงานเทศบาล จังหวัด (ก.ท.จ.)
              (๓) คณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา (ก.เมืองพัทยา)
              (๔) คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล จังหวัด (ก.อบต.จังหวัด)
          ๒. อนุวินัย ชื่อเต็มคือ คณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการ ใน ก.จังหวัด
          ๓. อนุอุทธรณ์ ชื่อเต็มคือ คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และร้องทุกข์ ใน ก.จังหวัด
         

         
                                       สวัสดี

----------
          - มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.๒๕๕๘.

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๑
                                    ๒๘ ส.ค. ๒๕๖๑

                                               โดย..
                                    ประวิทย์ เปรื่องการ



                                 บทที่ ๑๐
                  การสอบสวนพิจารณา (ต่อ)
     

          ตัวบท
          (ผู้บริหารท้องถิ่นให้สอบเพิ่ม)
          ข้อ ๗๘ ในกรณีผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใด ให้กำหนดประเด็น พร้อมทั้งส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเพื่อดำเนินการสอบสวนได้ตามความจำเป็น โดยอาจกำหนดมาตรการเร่งรัดการสอบสวนเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรก็ได้
          ในกรณีคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมไม่อาจทำการสอบสวนได้ หรือผู้บริหารท้องถิ่นเห็นเป็นการจำเป็น ผู้บริหารท้องถิ่นอาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ขึ้นทำการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นตามวรรคหนึ่งก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำข้อ ๔๙ และข้อ ๕๐ มาใช้โดยอนุโลม
          ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วให้ส่งพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติม ไปให้ผู้บริหารท้องถิ่นเพิ่มเติมโดยไม่ต้องทำความเห็น

          อธิบาย
          เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นได้พิจารณารายงานและสำนวนการสอบสวนแล้ว เห็นว่าการสอบสวนยังไม่หมดประเด็น หรือยังไม่สิ้นกระแสความ หรือพบว่ามีสิ่งใดที่ต้องการทราบเพิ่มเติม ให้ผู้บริหารท้องถิ่นดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
          ๑. กำหนดประเด็น
          ๒. พร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
          ๓. ไปให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิม
          ๔. ในกรณี
               (๑) คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมสอบสวนไม่ได้ เช่น
                     ๑) ตาย
                     ๒) พ้นจากราชการ
                     เป็นต้น หรือ
               (๒) ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นความจำเป็น
               ผู้บริหารท้องถิ่น จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ โดยต้องคำนึงถึง
                      ๑) คุณสมบัติ
                      ๒) องค์ประกอบ
                      ของกรรมการสอบสวน
                      ๓) รูปแบบ สว.๑
                      ในการออกคำสั่งแต่งตั้งด้วย
                ให้สอบสวนได้ตามความจำเป็น
          ๕. ผู้บริหารท้องถิ่นจะกำหนดมาตรการเร่งรัดการสอบสวนตามสมควรก็ได้ เช่น กำหนดเวลาแล้วเสร็จ
          ๖. ให้คณะกรรมการสอบสวน ทำการสอบสวนให้เร็วเสร็จโดยเร็ว (กรณีไม่มีการกำหนดเวลาไว้)
          ๗. ระยะเวลาการสอบสวนเพิ่มเติมไม่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาการสอบสวนตามปกติเดิม (๑๒๐ วัน)
          ๘. เมื่อคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นครั้งนี้สอบสวนเพิ่มเติมตามประเด็นหรือข้อสำคัญเสร็จแล้ว ให้ส่งพยานหลักฐานที่ได้ให้ผู้บริหารท้องถิ่น
          ๙. โดยไม่ต้องทำความเห็น (ห้ามทำ)


          ตัวบท
          (การสอบสวนเสียไปทั้งหมด)
          ข้อ ๗๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในข้อ ๔๙ ให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไป ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้อง

          อธิบาย
          แม้การสอบสวนจะแล้วเสร็จ แต่หากปรากฏว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่เป็นไปตามข้อ ๔๙ กล่าวคือ
          ๑. องค์ประกอบของคณะกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้อง เช่น
              (๑) กรรมการมีเพียง ๒ คน
              (๒) ไม่มีผู้ถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการสอบสวน
              (๓) ประธานกรรมการสอบสวนมีระดับตำแหน่งต่ำกว่าหรือเทียบได้ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา (ในวันออกคำสั่ง)
              (๔) คุณสมบัติของประธานกรรมการสอบสวนไม่เป็นไปตามที่ ก.กลางกำหนด
              (๕) มีข้าราชการฝ่ายทหารร่วมเป็นกรรมการ
              (๖) มีผู้ที่มิได้เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือมิได้เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนร่วมเป็นกรรมการ เช่น
                    ๑) ผู้บริหาร/รองผู้บริหารท้องถิ่น
                    ๒) ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น
                    ๓) สมาชิกสภาท้องถิ่น
                    ๔) พนักงานจ้าง/ลูกจ้าง (เว้นแต่มีคุณสมบัติและเป็นได้เพียงผู้ช่วยเลขานุการ)
                    ๕) เอกชน
                    เป็นต้น
              (๗) กรรมการที่ขอยืมตัวจากต่างสังกัด แต่ไม่มีหนังสือยินยอม (หรืออาจออกคำสั่งก่อนได้รับความยินยอม)
          ๒. คุณสมบัติของคณะกรรมการสอบสวนคณะนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่มี
               (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร
               (๒) ผู้จบปริญญาทางกฎหมาย
               (๓) ผู้ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรการดำเนินการทางวินัย (หรือหลักสูตร ๕ วัน) หรือ
               (๔) ผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินการทางวินัย
               แม้แต่คนเดียว
               (๕) ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสอบสวน ไม่มีคุณสมบัติตาม (๑) - (๔) ข้างต้น (หากมีการแต่งตั้ง)
          ๓. ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นคู่กรณีกับผู้ถูกกล่าวหา หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดร่วมกับผู้ถูกกล่าวหา แต่ ก.จังหวัดมิได้พิจารณาและมีมติคัดเลือกคณะกรรมการสอบสวนให้ (ผู้บริหารท้องถิ่นเลือกกรรมการเอง โดยไม่ผ่าน ก.จังหวัดคัดเลือก)
          กรณีในข้อ ๑-๓ ให้ผลการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้วทั้งหมดเสียไป ผู้บริหารท้องถิ่นไม่สามารถใช้สำนวนดังกล่าวพิจารณาลงโทษทางวินัยได้
          ดังนั้น
          ๑. ผู้บริหารท้องถิ่นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้อง
          ๒. จากนั้นคณะกรรมการสอบสวนต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนใหม่
             

          ตัวบท
          (การสอบสวนเสียไปเฉพาะส่วน)
          ข้อ ๘๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้อง ให้การสอบสวนตอนนั้นเสียไปเฉพาะ ในกรณีดังต่อไปนี้
          (๑) การประชุมคณะกรรมการสอบสวน มีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่ครบตามข้อ ๕๓ วรรคหนึ่ง
          (๒) การสอบปากคำบุคคล ดำเนินการไม่ถูกต้องตามข้อ ๕๗ วรรคสอง ข้อ ๖๔ ข้อ ๖๕ ข้อ ๖๖ วรรคหนึ่ง และข้อ ๖๙
          ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว
         
          อธิบาย
          สาเหตุที่ทำให้ผลการสอบสวนสวนเสียไป มี ๒ ลักษณะ คือ
          ๑. ผลการสอบสวนเสียไปทั้งหมด (ดังกล่าวข้างต้น)
          ๒. การสอบสวนเสียไปเฉพาะส่วน
          สาเหตุบางประการที่ทำให้ผลการสอบสวนเสียไปเฉพาะส่วน ได้แก่
               (๑) การประชุมหรือการสอบสวนที่องค์ประชุมไม่ครบ คือ
                    ๑) การประชุมปกติทั่ว ๆ ไป มีกรรมการเข้าร่วมประชุมน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เช่น
                         ก. ตั้งกรรมการ ๓ คน มีกรรมการเข้าเพียง ๑ คน (ต้องเข้า ๒ คน ขึ้นไป)
                         ข. ตั้งกรรมการ ๕ คน มีกรรมการเข้าเพียง ๒ คน (ต้องเข้า ๓ คน ขึ้นไป
                         ค. ตั้งกรรมการ ๗ คน มีกรรมการเข้าเพียง ๓ คน (ต้องเข้า ๔ คน ขึ้นไป)
                         เป็นต้น
                    ๒) ประชุมเพื่อแจ้งสว.๓  และมีมติจัดทำ สว.๖ มีกรรมการเข้าประชุมน้อยกว่า ๓ คน และน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เช่น
                         ก. ตั้งกรรมการ ๓ คน มีกรรมการเข้าประชุมเพียง ๒ คน (ต้องเข้าทั้ง ๓ คน)
                         ข. ตั้งกรรมการ ๗ คน มีกรรมการเข้าประชุม ๓ คน (ต้องเข้า ๔ คน ขึ้นไป)
                         ค. ตั้งกรรมการ ๙ คน มีกรรมการเข้าประชุม ๔ คน (ต้องเข้า ๕ คน ขึ้นไป)
                         เป็นต้น
              (๒) การสอบปากคำไม่ถูกต้อง ดังนี้
                    ๑) มีบุคคลอื่นเข้าร่วมทำการสอบสวน
                    ๒) องค์ประชุมคณะกรรมการสอบสวนไม่ครบ
                    ๓) กรรมการสอบสวนล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญา หรือกระทำโดยประการอื่นให้ให้ปากคำ
                    ๔) มีผู้อื่นอยู่ในที่สอบสวน
                    ๕) การรวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่ไม่ถูกต้อง
          กรณีการสอบสวนเสียไปเฉพาะส่วนดังกล่าว ผู้บริหารท้องถิ่นต้องสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว


          ตัวบท
          (กรรมการไม่แจ้ง สว.๓)
          ข้อ ๘๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนไม่เรียกผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา หรือไม่ส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา หรือไม่มีหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง หรือนัดมาให้ถ้อยคำ หรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามข้อ ๖๑ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง ให้ถ้อยคำ และนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามข้อ ๖๑ ด้วย

          อธิบาย
          รายงานการสอบสวนที่คณะกรรมการสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา (สว.๓) กล่าวคือ
          ๑. ไม่เรียกผู้ถูกกล่าวหามารับทราบ
          ๒. ไม่ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
          ๓. ไม่มีหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง
          ๔. ไม่นัดมาให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหา

          ให้ผู้บริหารท้องถิ่น
          ๑. สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว
          ๒. ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาด้วย


          ตัวบท
          (ไม่ได้สอบสาระสำคัญอันจะเสียความเป็นธรรม ผู้บริหารท้องถิ่นต้องสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไขโดยเร็ว)
          ข้อ ๘๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้องตามหมวดนี้ นอกจากที่กำหนดในข้อ ๗๙ ข้อ ๘๐ และข้อ ๘๑ ถ้าการสอบสวนตอนนั้นเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไขหรือดำเนินการตอนนั้นให้ถูกต้องโดยเร็ว แต่ถ้าการสอบสวนตอนนั้นมิใช่สาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ผู้บริหารท้องถิ่นจะสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องหรือไม่ก็ได้

          อธิบาย
          นอกจากที่กล่าวถึงการสอบสวนทั้งหมดเสียไป และการสอบสวนเสียไปเฉพาะส่วนข้างต้นแล้วนั้น
          ๑. การสอบสวนตอนใดที่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ผู้บริหารท้องถิ่นต้องสั่งให้แก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว
          ๒. ถ้าไม่ใช่สาระสำคัญ เป็นดุลพินิจของผู้บริหารท้องถิ่นจะให้แก้ไขดำเนินการหรือไม่ก็ได้


                                       สวัสดี

----------
          - มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.๒๕๕๘.

"บทเรียน..ผ่านไลน์" ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑

"บทเรียน..ผ่านไลน์"    ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑                                    ๒๐ ก.ย. ๒๕๖๑                                       ...